จีนสร้างแอปจับตาดูลูกหนี้ที่อยู่ใกล้ หนึ่งในนวัตกรรมเพื่อนโยบาย Social-credit | Techsauce

จีนสร้างแอปจับตาดูลูกหนี้ที่อยู่ใกล้ หนึ่งในนวัตกรรมเพื่อนโยบาย Social-credit

เมืองในทางตอนเหนือของจีนกำลังพัฒนาแอปพลิเคชันในการแจ้งเตือนว่าผู้ใช้งานกำลังเดินอยู่ใกล้กับคนที่มีหนี้สิน แอปพลิเคชันนี้มีชื่อว่า “map of deadbeat debtors” ซึ่งกำลังถูกปล่อยออกมาในมณฑล Hebei ณ ขณะนี้ โดยแอปพลิเคชันนี้สามารถเข้าถึง WeChat แพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมที่สุดในจีนได้อีกด้วย

ตัวโปรแกรมจะคอยบอกผู้ใช้งานเมื่อผู้ใช้งานได้อยู่ใกล้ผู้มีหนี้สินในระยะ 500 เมตร และจะมีการแสดงชื่อรวมถึงตำแหน่งของผู้มีหนี้สิน แต่ถึงอย่างไรในตอนนี้ก็ยังไม่มีการสรุปว่าเป็นตำแหน่งในปัจจจุบันหรือที่อยู่ในตอนสมัครเข้าใช้งาน

โปรแกรมนี้ได้อธิบายลูกหนี้ที่เรียกว่า "lao lai" ซึ่งหมายถึงคนที่ผิดนัดคำสั่งศาลในการชำระคืนเงินกู้ ในปัจจุบันยังไม่มีการระบุจำนวนเงิน หรือตัวบุคคลที่ผู้กู้ได้ขอกู้ไว้ แต่พอคาดเดาได้ว่าแอปพลิชันต้องการที่จะทำให้ผู้คนคอยจับตาดูเหล่าลูกหนี้ให้กับทางภาครัฐ

'map of deadbeat debtors' คือหนึ่งในระบบ Social-credit

โครงการใหม่นี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบ social-credit ที่มุ่งเสริมสร้างแนวคิดเรื่อง “การทำตามสัญญาเป็นเรื่องน่ายกย่อง และการทำลายสัญญาเป็นที่น่าละอาย”

ตามเอกสารรัฐบาลปี 2014 ระบบ Social-credit จัดเป็นหลักเกณฑ์ตัดสินความน่าเชื่อถือของบุคคลด้วยการใช้มาตรการต่างๆ เช่น ความสามารถในการชำระเงินกู้ และพฤติกรรมของพวกเขาในพื้นที่สาธารณะ ซึ่งระบบนี้จะมีผลบังคับใช้ในปี 2020 รัฐบาลกล่าว ในขณะนี้ระบบยังถูกใช้งานเป็นส่วนน้อย และหน่วยงานท้องถิ่นหลายแห่ง เช่น มณฑล Hebei ได้ออกมาตรการเพื่อให้สอดคล้องกับระบบของรัฐบาล รวมไปถึงเริ่มมีการจัดทำ Blacklist ในการบันทึกรายชื่อและเลข ID ในบางพื้นที่

โดยผู้คนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในที่สาธารณะและไม่ได้ทำการชำระภาษีจะถูกเก็บบันทึกข้อมูล โดยล่าสุดมีผู้คนจำนวนกว่า 6,000 คนถูกบันทึกจากระบบและได้รับโทษถูกระงับการเดินทางออกนอกประเทศ

นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังได้ปล่อยให้บริษัทเทคโนโลยีเข้าถึงข้อมูลของผู้คนอีกด้วย อย่างเช่น Alibaba และ Tencent โดยบริษัทเหล่านี้ได้รับการอนุญาติให้สามารถสอดส่องพฤติกรรมของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม และเข้าถึงความน่าเชื่อทางการเงินของผู้คน หนึ่งในข้อโต้แย้งสำหรับระบบนี้คือคนจำนวนมากในประเทศจีนยังคงไม่สามารถเข้าถึงธนาคารแบบดั้งเดิมได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบทางเลือกอื่น เพื่อประเมินว่าพวกเขาสามารถชำระเงินกู้ จ่ายค่าเช่าบ้านรวมถึงมีค่าใช้จ่ายเพียงพอต่อการส่งลูกหลานเข้าเรียนได้

WeChat เข้าถึงข้อมูลของผู้คนได้มากแค่ไหน

ยังไม่แน่ชัดว่าผู้ใช้ใน Hebei ต้องดาวน์โหลดแอป “deadbeat deptors” หนึ่งในโปรแกรมย่อยของ WeChat หรือไม่ เพราะเป็นไปได้ว่ามันถูกติดตั้งมาในเครื่องของพวกเขาตั้งแต่แรกแล้ว

การใช้งาน WeChat และเว็บไซต์ microblogging จาก Weibo ในประเทศจีนผู้คนต้องแจ้งหมายเลขโทรศัพท์และที่อยู่ IP อีกทั้งตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของ WeChat ผู้ที่ใช้ WeChat Pay ต้องแจ้งรายละเอียดบัตรเครดิตอีกด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ WeChat สามารถที่จะเข้าถึงข้อมูลของผู้คนได้มากเกินกว่ากฏหมายความปลอดภัยของข้อมูลกำหนด

ในปี 2016 กระทรวงความมั่นคงของจีนประกาศว่าเจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายสามารถนำบทสนทนาส่วนตัวของประชาชนบน WeChat มาใช้ได้ และเมื่อปีที่แล้วเจ้าหน้าที่ของจีนใน Hebei ทางภาคตะวันออกของจีนกล่าวว่าพวกเขาสามารถเข้าถึงข้อความ WeChat ที่ถูกลบของผู้ใช้โดยไม่ต้องถามผู้ใช้หรือขอหมายศาล

ปัจจุบันมีผู้คนจำนวนมากกว่า 1 พันล้านคนในประเทศจีนที่ใช้งาน WeChat และยังมีการคาดการณ์ว่าจะมีจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ จึงเป็นที่น่าจับตามองต่อไปว่าระบบ Social-credit จะเข้ามาทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างไรได้อีก

 

ภาพ cover จาก  The Filipino Times

อ้างอิงภาพและข้อมูล: Businessinsider

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Jensen Huang ตอบประเด็นอนาคต AI ยังไงต่อ ? ในงาน GTC 2024

บทความนี้ Techsauce ชวนมาฟังความเห็นของ CEO บริษัทชิปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เกี่ยวกับอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ในงาน GTC 2024...

Responsive image

SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับ Michelin Star ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนขอบอวกาศ โอกา...

Responsive image

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? แหล่งข่าวชี้ Selena Gomez เตรียมขายแบรนด์

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? ข่าวจาก Bloomberg ออกมาว่าตอนนี้ Selena Gomez ได้เริ่มดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์แล้ว...