รู้ทันสารพัดกลโกงในโลกคริปโต ความเสี่ยงของการลงทุนมาในรูปแบบใดบ้าง ? | Techsauce

รู้ทันสารพัดกลโกงในโลกคริปโต ความเสี่ยงของการลงทุนมาในรูปแบบใดบ้าง ?

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน” ทุกคนคงเคยได้ยินประโยคนี้ แน่นอนว่าความเสี่ยงที่สูงก็มีผลตอบแทนที่สูงเช่นกัน และการลงทุนที่เป็นที่พูดถึงมากที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ก็คือ “คริปโต” วันนี้ Techsauce จะพาทุกคนไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของการลงทุนกัน

ทำความรู้จัก 3 ประเภทความเสี่ยงจากการลงทุน 

ความเสี่ยงจากการลงทุนนั้นสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 

ความเสี่ยงที่มีผลต่อทั้งระบบ (Systematic Risk) คือ ความเสี่ยงที่คาดการณ์ไม่ได้ ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยการกระจายความเสี่ยงหรือการจัดการสินทรัพย์ ซึ่งมีผลกระทบต่อทั้งตลาด ไม่ใช่แค่เพียงในระดับอุตสาหกรรมหรือ Chain ใด Chain หนึ่งเท่านั้น อาจมีสาเหตุมาจากภาวะเงินเฟ้อ นโยบายทางการเงิน การคลัง อัตราดอกเบี้ย สถาณการณ์ทางการเมือง หรือภัยธรรมชาติ อย่างเช่น สถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อทุกธุรกิจทั่วโลก

ความเสี่ยงที่ไม่ได้มีผลต่อทั้งระบบ (Unsystematic Risk) หรือที่นิยมเรียกกันว่าความเสี่ยงเฉพาะ (Specific Risk) เป็นความเสี่ยงที่มากับตัวธุรกิจ ส่งผลเฉพาะต่อแค่บางธุรกิจ หรือแค่บางอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่เกิดผลกระทบกับตลาดในภาพรวม  สามารถลดโอกาสในการเกิดความเสี่ยงและขนาดของผลกระทบได้ด้วยได้ด้วยการกระจายการลงทุนหรือการจัดการทรัพย์สิน อาจเกิดจากการจัดการ การบริหาร ภาระผูกพันทางการเงิน ความสามารถในการแข่งขัน นโยบาย และความผันผวนของราคา

ความเสี่ยงส่วนบุคคล (Personal Risk) คือความเสี่ยงที่เกิดจากนักลงทุนเอง โดยอาจขาดประสบการณ์ในการลงทุน ยังไม่มีความรู้ในเรื่องการลงทุนที่เพียงพอ เชื่อคำแนะนำจากผู้อื่น ฉะนั้นคำยอดนิยมที่นักลงทุนหน้าใหม่มักได้ยินคือ Do Your Own Research หรือ DYOR นอกจากนี้สำหรับคริปโตแล้วอาจมีการจำรหัสผ่านไม่ได้ ทำ key หาย ใส่ที่อยู่ปลายทางผิด เพราะแค่เพียงพิมพ์ผิดตัวอักษรเดียวทุกอย่างจะเปลี่ยนไปทันที 

อย่างไรก็ตามในความเสี่ยง 2 ประเภทหลังอาจเกิดขึ้นเพราะถูก Hack เพราะแม้ Developer จะพัฒนาตลอดเวลาเพื่อปิดช่องว่าง แต่ Hacker ก็พยายามหาทางเจาะเข้าไปตลอดเวลาเหมือนกัน ที่สำคัญปัจจุบัน cryptocurrencies ยังไม่ได้รับการควบคุมทั้งรัฐบาลและธนาคารกลาง

เท่าทันทุกรูปแบบกลโกงในโลกคริปโต

แม้ว่าหลายประเทศจะมีการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับแนวทางในการกำกับดูแลเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอาชญกรรมทางการเงิน โดยบางประเทศได้มีการออกข้อบังคับบางเรื่อง เช่น กำหนดเงื่อนไขของผู้ใช้งาน เช่น จำกัดอายุขั้นต่ำของผู้ใช้ เป็นต้น ในส่วนของการฉ้อโกงหรืออาชญากรรมทางการเงินที่เกิดจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลนั้นมีหลายรูปแบบ เช่น

  1. การโกงโดยตรง เกิดขึ้นได้จากทั้ง Hacker ทำการแฮ็ค Crypto Wallet ของผู้ใช้งาน หรือการถูกนายหน้า/ตัวแทนโกง (Broker/Dealer Fraud) ซึ่งจุดมุ่งหมายอาจไม่ใช่แค่เพียงการโจรกรรมสินทรัพย์เท่านั้น แต่รวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย

  2. การเสนอขายเหรียญ ICO (Scam Initial Coin Offerings) วิธีการคือจะมีการเสนอขายสกุลเงินดิจิทัลสกุลใหม่ครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า Initial Coin Offering หรือ ICO โดยพวกเขาจะสร้างเหรียญจำนวนมาก และขั้นตอนสำหรับ ICO ขึ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งใช้หลักฐานและเอกสารปลอมทั้งหมด 

  3. การทุ่มตลาด (Pump and Dump Schemes) วิธีนี้ค่อยข้างคลาสิกเหมือนกับในตลาดหุ้นแบบเดิมที่เจ้าของหุ้นพยายามผลักดันราคาให้สูงขึ้นก่อนที่จะขายทิ้ง 

  4. แชร์ลูกโซ่ (Ponzi Scheme) เป็นการระดมทุนรูปแบบหนึ่ง โดยให้ผลตอบแทนที่สูงมาก เนื่องจากคนที่มีความรู้เรื่องคริปโตยังไม่เป็นวงกว้างมากนักจึงเกิดการหลอกลวงรูปแบบนี้ขึ้น วิธีการคือการหาสมาชิกใหม่ให้ได้จำนวนมาก ๆ เพื่อนำรายได้ที่ได้จากสมาชิกใหม่ไปจ่ายให้รายเก่าที่ถูกหลอกมาก่อนหน้า ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันเกมรูปแบบ Play-to-Earn ก็ถูกตั้งข้อครหาว่าเป็นกระบวนการแชร์ลูกโซ่เช่นกัน

  5. Giveaways Scam นักต้มตุ๋นพยายามทำตัวเป็นคนดัง นักธุรกิจ หรือ Influencer แล้วทำการอ้างว่าจะ Airdrop เหรียญให้ โดยแลกกับข้อมูลส่วนตัวหรืออาจชักจูงเข้าสู่ Community เพื่อไว้ใช้หลอกผู้คนต่อไป

  6. Phishing Scams เป้าหมายของผู้กระทำผิดหรือ Scammer คือข้อมูลของ crypto wallet และ private keys ซึ่ง Phishing Scams เป็นหนึ่งในการโจมตีที่ผู้บริโภคพบบ่อยที่สุด จากข้อมูลของ FBI ผู้คนมากกว่า 114,700 คนตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวงแบบฟิชชิ่งในปี 2019 โดยรวมแล้วพวกเขาสูญเสียไป 57.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคนละ 500 เหรียญสหรัฐ

  7. Blackmail and Extortion Scams การข่มขู่ว่าจะเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวเพื่อการกรรโชกทรัพย์นั้นเป็นคดีอาญา ถึงแม้ว่าจะดูว่าเป็นวิธีที่ล้าสมัยแล้วแต่ยังคงมีผู้กระทำผิดแบบนี้อยู่ในวงการคริปโตเช่นกัน

  8. Rug Pull วิธีการเริ่มต้นจากเจ้าของโปรเจ็กต์จะสร้างเหรียญหนึ่งขึ้น แล้วโฆษณาเพื่อสร้างความเชื่อมั่น หลังจากนั้นก็ดึงสภาพคล่องออกจากระบบ แล้วล็อกให้ผู้ที่ซื้อเหรียญไม่สามารถขายเหรียญออกมาได้ จากนั้นก็นำเงินออกมา ซึ่งการโกงรูปแบบนี้ Rug Pull ยากมากที่จะตามเงินคืนกลับมาได้

  9. Cloud Mining Scams แพลตฟอร์มจะทำการตลาดกับผู้ซื้อรายย่อยและนักลงทุนเพื่อวางทุนล่วงหน้าเพื่อรักษากระแสพลังการขุดและรางวัลอย่างต่อเนื่อง แพลตฟอร์มเหล่านี้จะอ้างว่าเป็นเจ้าของ HASH ratio แต่กลับไม่มอบผลตอบแทนให้หลังจากที่คนจ่ายเงินแล้ว อย่างไรก็ตาม Cloud Mining ไม่จำเป็นต้องเป็นการหลอกลวงเสมอไป 

  10. ขโมยผ่านการติดตั้ง Malware มัลแวร์คือซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตราย มีหลายประเภท เช่น ไวรัสที่สร้างความเสียหายที่ประสงค์ร้าย สปายแวร์ที่ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ และแรนซัมแวร์ที่กักขังเครื่องของคุณไว้ โดยมัลแวร์หลายประเภทได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อจุดประสงค์ในการขโมยคริปโต โปรแกรมเหล่านี้สามารถบันทึกข้อมูลการเข้าบัญชี และขโมยกระเป๋าเงิน crypto หรือเข้าสู่บัญชีในขณะที่คุณอยู่ในระหว่างการทำธุรกรรม

อย่างไรก็ตามผู้ฉ้อโกงอาจปรับเปลี่ยนกลโกงอยู่ตลอดเวลาและยากที่จะคาดเดาได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากการหลอกลวงสำหรับผู้เริ่มต้น คือหาข้อมูลและความรู้ให่รอบคอบ ติดตามข่าวสารอยู่เสมอเพื่อให้ทันกลโกง และใช้ความระมัดระวังเมื่อลงทุน

มาตรการอะไรเพื่อป้องกันการถูกจับในกลโกง Cryptocurrency?

จาก AARP.org ได้แนะนำมาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการหลอกลวงในวงการ crypto ดังนี้:

  • อย่าแลกเงินในสกุลเงินดิจิทัล หากคุณไม่เข้าใจวิธีการทำงานจริง ๆ และอย่าเก็งกำไรในสกุลเงินดิจิทัลด้วยเงินที่คุณไม่สามารถจะเสียได้

  • อย่าลงทุนหรือแลกเปลี่ยน cryptocurrencies ตามคำแนะนำจากคนที่รู้จัก โดยไม่ได้หาข้อมูลและศึกษาด้วยตนเองก่อน

  • อย่าเชื่อโพสต์โซเชียลมีเดียที่ส่งเสริมการแจกของรางวัลสกุลเงินดิจิทัล

  • อย่าเปิดเผย "private key" ของคุณ ซึ่งทำให้คุณสามารถเข้าถึงสกุลเงินเสมือนของคุณกับใครก็ได้ เก็บไว้ในที่ปลอดภัย (ควรออฟไลน์ ซึ่งไม่สามารถแฮ็กได้) 


อ้างอิง: Financial Stability Board, investopedia, efinancethai, moneycrashers, aarp




Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...