ไซมอนเป็นระบบอัจฉริยะแบบอินเตอร์แอคทิฟที่พกพาได้ ที่จะเป็นผู้ช่วยนักบินอวกาศเกิร์สตในภารกิจครั้งที่2 สู่สถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้บังคับการสถานีอวกาศในช่วงที่สองของการปฏิบัติการระยะเวลา 6 เดือน โดยไซมอนได้รับการพัฒนาโดยแอร์บัสในนามของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน และจะได้รับการทดสอบบนสถานีอวกาศนานาชาติ ภายใต้ภารกิจ “ฮอไรซันส์” ขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency)
หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์ไซมอนมีลักษณะเป็นอุปกรณ์กลมๆ ขนาดเล็ก มีน้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม ใบหน้าและเสียงดิจิทัล รวมถึงการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ของไซมอน ทำให้ไซมอนเป็นเหมือน “เพื่อนร่วมงาน” ของบรรดาลูกเรือบนอวกาศ โดยกลุ่มนักพัฒนาที่รับผิดชอบการพัฒนาไซมอนคาดการณ์ว่าไซมอนจะช่วยลดความเครียดของบรรดานักบินอวกาศ ขณะเดียวกันก็ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน และทำหน้าที่เป็นระบบเตือนล่วงหน้าในกรณีที่เกิดปัญหาทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเข้ามาช่วยปรับปรุงเรื่องความปลอดภัย
ปัจจุบันไซมอนได้รับการฝึกอบรมให้สามารถระบุสภาพแวดล้อมของตนและสามารถระบุคู่สนทนาที่เป็นมนุษย์ที่กำลังมีปฏิสัมพันธ์กับตนได้โดยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ช่วยให้ไซมอนสามารถประมวลผลข้อความ คำพูด และรูปภาพรวมถึงช่วยดึงข้อมูลและข้อค้นพบต่างๆ ได้อีกด้วย ทักษะเหล่านี้ (ซึ่งสามารถฝึกฝนทีละส่วนและเพิ่มความลึกซึ้งในบริบทของงานที่ได้รับมอบหมายเข้าไปได้) ได้รับการพัฒนาขึ้นบนหลักการของการทำความเข้าใจ การให้เหตุผล และการเรียนรู้
เทคโนโลยีด้านการมองเห็นภาพและการโต้ตอบด้วยคำพูดของวัตสันช่วยให้ไซมอนสามารถจดจำอเล็กซานเดอร์ เกิร์สต์ ได้ ผ่านการฝึกจากตัวอย่างเสียงและรูปภาพของเกิร์สต์รวมทั้งรูปภาพของบุคคลที่ “ไม่ใช่ เกิร์สต์” นอกจากนี้ไซมอนยังอาศัยความสามารถในการจำแนกแยกแยะภาพ (Visual Recognition) ของวัตสัน เพื่อเรียนรู้ผังโครงสร้างของโมดูลโคลัมบัสบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งทำให้ไซมอนสามารถเคลื่อนที่ไปรอบๆ ได้อย่างไร้ปัญหาไซมอนยังได้เรียนรู้ขั้นตอนดำเนินการทั้งหมดเพื่อให้สามารถช่วยทำการทดลองต่างๆ บนยานอวกาศได้อีกด้วย โดยบางครั้งการทดลองอาจประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ มากกว่า 100 ขั้นตอนที่แตกต่างกัน ซึ่งไซมอนรู้จักขั้นตอนเหล่านั้นทั้งหมด
บริการไอบีเอ็ม วัตสัน บนไอบีเอ็ม คลาวด์ ช่วยให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อนและมีกรรมสิทธิ์ของสถานีอวกาศนานาชาติได้รับการปกป้องไว้ไม่ว่าข้อมูลจะถูกสร้างขึ้นบนเซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเบส หรือที่ใดก็ตามโดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องอัพโหลดข้อมูลไปไว้ที่ระบบคลาวด์ภายนอกเพื่อใช้ความสามารถด้าน AI อย่างเต็มประสิทธิภาพแต่อย่างใด
โมเดลข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของไอบีเอ็มช่วยให้องค์กรสามารถฝึกโมเดล AI ด้วยเทคโนโลยีของวัตสัน โดยไม่จำเป็นต้องผสานรวมข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือมีกรรมสิทธิ์เข้ากับโมเดลแบบสาธารณะแต่อย่างใดและจะไม่มีองค์กรใด (หรือแม้แต่ไอบีเอ็ม) ที่สามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้พัฒนาแอพพลิเคชัน AI อื่นๆ เพิ่มเติมได้ช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะสามารถเก็บรักษาข้อมูลที่สำคัญมากของตนไว้เป็นส่วนตัวและภายใต้กรรมสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญารวมถึงข้อมูลของบริษัทจะถูกนำไปใช้สร้างความได้เปรียบให้แก่ตัวบริษัทเองเท่านั้น ซึ่งถือเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้แอร์บัสเลือกไอบีเอ็มเป็นพันธมิตรในการพัฒนาไซมอน
ในระยะกลาง โครงการไซมอนจะมุ่งที่ผลของกลุ่มทางจิตวิทยาซึ่งสามารถเกิดขึ้นกับทีมเล็กๆ ระหว่างภารกิจระยะยาวบนอวกาศ โดยผู้สร้างสรรค์ไซมอนมีความมั่นใจว่าการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ หรือในกรณีนี้คือระหว่างนักบินอวกาศกับผู้ช่วยอัจฉริยะบนอวกาศที่ได้รับการติดตั้งภาวะความฉลาดทางอารมณ์ จะส่งผลสำคัญต่อความสำเร็จของภารกิจ และจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับงานในโรงพยาบาลหรือการสนับสนุนบริการด้านพยาบาลต่อไป
Sign in to read unlimited free articles