วิศวะ จุฬาฯ ลงทุน CURE Enterprise บริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ออกสู่ตลาด | Techsauce

วิศวะ จุฬาฯ ลงทุน CURE Enterprise บริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ออกสู่ตลาด

ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้สนับสนุนให้จัดตั้ง Club Chula Spin-Off ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิก Deep Tech Startup กว่า 50 บริษัท ที่นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเมื่อช่วงปลายปี 2564 ซึ่งบริษัทเหล่านี้มีมูลค่าตลาดรวมแล้วกว่า 1.67 หมื่นล้านบาท ในขณะนี้ ตัวอย่างได้แก่ บริษัท ใบยา Phytopharm Haxter Robotics Nabsolute Tann D และ Innofood เป็นต้น

วิศวะ จุฬาฯ ลงทุน CURE Enterprise บริษัท spin-off แห่งแรก นำนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ออกสู่ตลาด

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ดำเนินการในการจัดตั้งบริษัท University Holding Company ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยโดยเร็วเพื่อลงทุนในกิจการ Start up ด้วยเป้าประสงค์ที่จะนำเทคโนโลยีมาสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงที่พร้อมจะนำออกไปใช้ในโลกจริง การตั้ง CU Engineering Enterprise เป็น Holding Company จึงเกิดขึ้นเพื่อเข้าลงทุนงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยต่อเนื่องจนถึงการผลิตและการจัดการ 

หนุนลงทุนบริษัท CURE Enterprise

โดย Startup แรกที่ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เข้าลงทุนผ่านโครงสร้างนี้คือ บริษัท CURE Enterprise ซึ่งมีผลงานผลิตภัณฑ์ที่เริ่มผลิตจริงแล้วสำหรับการกรองอากาศหายใจ เป็นหน้ากาก respirator ประสิทธิภาพสูงสุด จากการร่วมมือของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ (MMRI) และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

ซึ่งทางมหาวิทยาลัยร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา  สร้างนวัตกรรมจากกองทุนศตวรรษที่สองของจุฬาฯ ซึ่งในแล็บนี้ประกอบไปด้วยคณาจารย์นักวิจัยกว่าสิบท่านจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ MMRI เป็นหลักเพื่อทดสอบ วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเพื่อสาธารณสุขสำหรับคนไทยอย่างต่อเนื่องต่อไปในอนาคต

ทางด้าน นายพรเลิศ ลัธธนันท์ CEO และประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท CU Engineering Enterpriseกล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีคณาจารย์ที่มีความสามารถอยู่เป็นจำนวนมากที่งานวิจัยมีความพร้อมจะก้าวไปสู่ขั้นการผลิตและนำออกสู่มือประชาชนและลูกค้าระดับองค์กรแต่ยังขาดเพียงการบริหารและการลงทุนซึ่ง CU Engineering Enterprise หรือนามย่อ CUEE จะเข้ามาสนับสนุน startup เหล่านี้ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงยั่งยืนเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน ซึ่งในอนาคตอาจทำให้เกิด valuation หรือแม้แต่การออก IPO ก็เป็นไปได้

CUEE จะเน้นในการทำงาน Research to Reality อย่างรวดเร็ว บริหารงานเป็นขั้นเป็นตอน ให้นวัตกรรมต่าง ๆ ที่ออกสู่ตลาดมีคุณภาพสูงสุดและสามารถแข่งขันได้ทางด้านธุรกิจทั้งในประเทศไทยและในตลาดโลก โดยเฉพาะในด้านที่ทางนักวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มีความพร้อม เช่น ด้านผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพและสาธารณสุข, AI Platform ด้านการเรียนการสอน, Nano technology เป็นต้น

หน้ากาก CUre AIR SURE มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.1 micron สูงถึง 99%

ด้าน ศาสตราจารย์ ดร.อนงค์นาฏ สมหวังธนโรจน์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวถึงผลิตภัณฑ์แรกของ spin-off จาก CUEE Holding Company ว่าทาง CURE Enterprise บริษัท spin-off แรกของเราได้สร้างนวัตกรรมหน้ากาก CUre AIR SURE ซึ่งเป็นผลงานจากการร่วมมือกันทำงานเป็นระยะเวลานับปี โดยสามสถาบันภายในของจุฬาฯ และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเอกชนเช่น SCG Packaging เครือบริษัท TCP เครือสหพัฒน์และภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ตั้งแต่การออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน และประกอบผลิตภัณฑ์ได้สำเร็จในประเทศไทย

 จนได้รับรางวัล G Mark ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่รางวัลระดับโลกด้านการออกแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางสุขภาพจากประเทศญี่ปุ่น โดยหน้ากาก CUre AIR SURE มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.1 micron สูงถึง 99% กระชับใบหน้า อากาศไม่รั่วไหล หายใจสะดวก ดูแลรักษาง่าย ใช้งานซ้ำได้นานนับปี เหมาะที่จะใช้งานได้ในทุกพื้นที่โดยมีต้นทุนการใช้งานประมาณวันละห้าบาท นอกจากนี้แล้วผลประกอบการของบริษัท CURE Enterprise กว่า 60% จะถูกนำกลับสู่จุฬาฯ เพื่อส่งเสริมงานวิจัยอื่นของทางมหาวิทยาลัยต่อไป

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Jensen Huang ตอบประเด็นอนาคต AI ยังไงต่อ ? ในงาน GTC 2024

บทความนี้ Techsauce ชวนมาฟังความเห็นของ CEO บริษัทชิปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เกี่ยวกับอนาคตของปัญญาประดิษฐ์ในงาน GTC 2024...

Responsive image

SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับ Michelin Star ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนขอบอวกาศ โอกา...

Responsive image

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? แหล่งข่าวชี้ Selena Gomez เตรียมขายแบรนด์

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? ข่าวจาก Bloomberg ออกมาว่าตอนนี้ Selena Gomez ได้เริ่มดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์แล้ว...