หากพูดถึง Deep tech หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวหรือต้องมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว Deep tech เป็นเรื่องที่อยู่รอบตัวเราทุกคนและสามารถเข้าใจได้อย่างง่ายดายอย่างยิ่ง เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep tech) คือ การนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยวิธีการที่มีระบบ ทำให้การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเกิดประสิทธิภาพที่ ได้ผลอย่างเห็นได้ชัดและมีความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคปัจจุบัน Deep tech เข้ามามีส่วนร่วมแทบ จะทุกกิจกรรมของชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ การประชุมผ่านระบบ VDO Conferrence รวม ไปถึงการทำธุรกรรมทางการเงินอีกด้วย
สำหรับประเทศไทยเองก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารองรับการดำเนินงานด้าน Deep tech มาเป็น เวลานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งหน่วยงานหลังนี่เองที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกับทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยตรง บทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะทำหน้าที่เป็นปัจจัยนำเข้า (Input) จากผลงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เช่น งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ประกอบกรทั้งหลายที่มีความเกี่ยวข้อง
ทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยใช้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลายจะก่อให้เกิดการ พัฒนาร่วมกันและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายทั้งตัวผู้ประกอบการ การส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุน ภาครัฐที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดระบบนิเวศ (Startup Ecosystem) ขึ้น จะทำให้เกิดการพัฒนาทาง เศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด สามารถหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาอย่างหนึ่งของ ผู้ประกอบการด้าน Deep tech ในประเทศไทย คือการขาดการระดมทุนสนับสนุนจากนักลงทุน โดยตั้งแต่ปี
พ.ศ.2554-2564 ธุรกิจด้านนวัตกรรมในประเทศไทย มีมูลค่าการระดมทุนเพียง 1,320 ล้านเหรียญสหรัฐ คิด เป็นร้อยละ 0.3 ของ GDP เท่านั้น
ดังนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี วัตถุประสงค์ในการพัฒนาต่อยอดผลงานทางวิชาการด้านกลุ่มนวัตกรรม Deep Tech ที่เป็นประโยชน์ในด้าน การพัฒนาองค์ความรู้ทางนวัตกรรมและสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจต่อประเทศ จึงได้จัดงาน Chula Deep Tech Demo Day 2023 ขึ้น ในวันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00-17.00 น. ณ ศูนย์การประชุม แห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพฯ พร้อมเชิญนักลงทุน (Venture Capital) กว่า 500 คนจากทั่วทุกมุมโลกเข้าร่วมงาน
เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Deep tech สัญชาติไทย และความพร้อมของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Ecosystem โดยไฮไลท์ที่พลาดไม่ได้ในงาน คือ
1. การ pitching Deep Tech Startup จำนวน 9 ราย ประกอบด้วย
a. ด้านสุขภาพ (Health) ได้แก่ Engine Life Nabsolute CellMidi Mineed tech และ Baiya Phytopharm
b. ด้านอาหาร (Food) ได้แก่ TannD และ Increbio
c. ด้านพลังงาน (Energy) ได้แก่ Crystallite
d. ด้านเกษตรกรรม (Agriculture) ได้แก่ HiveGround Robotics
2. การเสวนาในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการธุรกิจด้าน Deep tech จำนวน 3 หัวข้อ โดยผู้แทนจาก หน่วยงานต่างๆ เช่น สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม แห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักงานวัตกรรม แห่งชาติ (NIA) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3. การบรรยายในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย และแนวโน้มของธุรกิจ Deep tech จำนวน 3 หัวข้อ โดยมีผู้บรรยายพิเศษ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และ นวัตกรรม ตัวแทนนักลงทุนชั้นนำ (Venture Capital) และผู้สนับสนุนจากองค์กรระดับโลก (Global Sponsors)
การจัดงานในครั้งนี้จะเกิดการเผยแพร่และนำเสนอผลงานของกลุ่มผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม Deep Tech Startup ของคนไทยที่มีศักยภาพสูง ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือกันภายในประเทศและต้องการ ก้าวสู่ความร่วมมือในระดับนานาชาติ อันจะก่อให้เกิดการระดมทุนร่วมกันกับต่างประเทศ พัฒนาการต่อยอด ทางวิชาการด้านนวัตกรรมให้สามารถเกิดประสิทธิภาพขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง มีความยั่งยืน เกิดคุณค่าของงาน วิชาการด้านนวัตกรรมที่มีความสำคัญในระดับเวทีโลกต่อไป
Sign in to read unlimited free articles