จีนเล่นใหญ่ ร่างกฎห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ใช้มือถือเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน หลังสี่ทุ่มต้องหยุดให้บริการ กลัวเด็กเสียพัฒนาการ บิ๊กเทคต้องรอฟังหวั่นผลกระทบ
สำนักงานบริหารไซเบอร์จีน (Cyberspace Administration of China (CAC)) ร่างกฎจำกัดเวลาการใช้สมาร์ทโฟนในกลุ่มเด็กและเยาวชน เพื่อควบคุมและป้องกันการเสพติดมือถือ โดยกำหนดให้
ร่างกฎหมายนี้ยังกำหนดให้สมาร์ทโฟนต้องมีโหมดสำหรับผู้เยาว์ (Minor mode) สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี โดยปุ่มเปิดโหมดนี้ควรอยู่ในหน้าจอโฮมหรือในหน้าตั้งค่า เพื่อให้ผู้ปกครองเข้ามาควบคุมเนื้อหาที่บุตรหลานดู และเพื่อให้ผู้ให้บริการเลือกแสดงเนื้อหาตามอายุของผู้ใช้งาน
เช่น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่าสามขวบควรแสดงเพลงและเนื้อหาที่มีแต่เสียงเท่านั้น และต้องมีอายุ 12 ถึง 16 ปีจึงจะเข้าถึงเนื้อหาด้านการศึกษาและข่าวสารได้ หน่วยงานไซเบอร์ยังส่งคำเตือนไปถึงผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตไม่ให้แสดงเนื้อหาที่ทำให้เด็กเสพติดมือถือและเนื้อหาที่อาจทำลายสุขภาพกายและจิตด้วย
ยังมีการกำหนดด้วยว่าทุกบริการผ่านสมาร์ทโฟนไม่ควรให้บริการเด็กและเยาวชน ตั้งแต่ช่วง 22:00 - 06:00 ในวันถัดไป ยกเว้นเนื้อหาทางการศึกษาและบริการฉุกเฉิน
ก่อนหน้านี้ในปี 2019 ทางการจีนออกกฎคุมเวลาเล่นเกมของเด็กและเยาวชน โดยให้เล่นได้วันละ 1 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้นในวันธรรมดา และห้ามเล่นหลังสี่ทุ่ม และเข้มงวดขึ้นอีกในปี 2021 โดยลดเวลาเหลือเพียง 1 ชั่วโมงต่อวัน เฉพาะในวันศุกร์ วันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เท่านั้นด้วยที่จะเล่นได้ โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่พอใจกับกฎระเบียบนี้
ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวยังอยู่ในขั้นตอนการปรึกษาหารือสาธารณะ ยังคงมีเครื่องหมายคำถามในเชิงปฏิบัติ แต่ที่แน่ๆ คือถ้ากฎหมายนี้ผ่านและมีการบังคับใช้ ผลกระทบมหาศาลจะตกอยู่กับยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี
เช่น การสร้างโหมดสำหรับผู้เยาว์ จะเป็นความรับผิดชอบของใคร หากเป็นความรับผิดชอบของผู้ผลิต บริษัทอย่าง Apple ก็อาจได้รับผลกระทบ จะต้องปรับแต่งอุปกรณ์ตัวเองให้ผ่านมาตรฐานนี้
ในฝั่งของผู้พัฒนาแอป Bytedance เจ้าของ TikTok (Douyin ในจีน) เช่นเดียวกับ Tencent และอีกหลายเจ้าก็คงต้องรอติดตามกฎหมายนี้อย่างใกล้ชิด เพราะจะส่งผลถึงการให้บริการของพวกเขา
ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างอยู่บนหน้าจอ การไม่ใช้มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเลตเลยอาจเป็นเรื่องที่เลี่ยงได้ยาก แต่การใช้มือถือมีผลต่อพัฒนาการและสุขภาพของเด็กจริงๆ ไม่มากก็น้อย ทั้งปัญหาเชิงพฤติกรรม การนอนหลับ ระบบประสาท ฯลฯ
ในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่ควรอยู่หน้าจอเกินหนึ่งชั่วโมง เพราะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของวัยที่กำลังเรียนรู้และพัฒนา การศึกษาหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน JAMA Pediatrics พบว่า การอยู่ติดหน้าจอทำให้ทักษะภาษาและการเข้าสังคมของเด็กวัยหัดเดินล่าช้า โดยเฉพาะหากทุกครั้งที่เด็กร้องไห้งอแง หรือพ่อแม่กำลังวุ่นๆ การยัดมือถือใส่มือลูกนั้นอาจเป็นทางเลือกที่ผิด
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา UNESCO หน่วยงานภายใต้ UN ได้ ออกคำแนะนำให้แบนการใช้มือถือในโรงเรียน เพราะมีหลักฐานว่ามันเชื่อมโยงกับประสิทธิภาพการศึกษาที่ลดลง ยิ่งอยู่หน้าจอมากยิ่งส่งผลเสียต่อความมั่นคงทางอารมณ์ของเด็ก โดยเฉพาะในยุค AI ผู้สอนต้องไม่ลืมให้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง และละทิ้งความสัมพันธ์ในห้องเรียนไป
อ้างอิง: cnbc, apnews, washingtonpost, theguardian
Sign in to read unlimited free articles