ครม.อนุมัติ ยกเว้น Capital Gain Tax สำหรับลงทุนใน Startup ไทย เป็นเวลา 10 ปี | Techsauce

ครม.อนุมัติ ยกเว้น Capital Gain Tax สำหรับลงทุนใน Startup ไทย เป็นเวลา 10 ปี

ครม.อนุมัติมาตรการยกเว้นภาษี หรือ Capital Gain Tax เป็นเวลา 10 ปี แก่นักลงทุนไทยและต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ภายใต้ 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ผ่าน Venture Capital โดยต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 24 เดือน หวังเสริมสร้างการลงทุนและการจ้างงานภายในประเทศ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจตามมาอีกด้วย

คุณเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรได้ให้ความสำคัญแก่การระดมทุนของวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)) ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการลงทุนใน Startup ไทย ที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย  ตามที่คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายประกาศกำหนด 

โดย ร่าง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว มีสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้

1. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศ สำหรับกำไรจากการขายหุ้นใน Startup

2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ CVC ทั้งไทยและต่างประเทศ และ PE Trust ต่างประเทศสำหรับกำไรจากการขายหุ้นใน Startup

3. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ผู้ลงทุนทั้งไทย และต่างประเทศสำหรับกำไรจากการขายหุ้นใน CVC ไทยและจากการที่ CVC ไทยเลิกกิจการ และกำไรจากการขายหน่วยทรัสต์ใน PE Trust ไทยและจากการที่ PE Trust ไทยเลิกกิจการ  โดย CVC และ PE Trust  ไทยดังกล่าวเป็น CVC และ PE Trust ที่ลงทุนใน Startup

สำหรับการลงทุนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 1 – 3 ต้องเป็นการลงทุนใน Startup ไทยที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย และต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ และมีรายได้จากอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมดใน 2 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนการขายหุ้น

4. ผู้ลงทุนต้องถือหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ไม่น้อยกว่า 24 เดือนก่อนการขายหุ้นหรือหน่วยทรัสต์

5. CVC ไทยและ PE Trust ไทยต้องมีทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท และจดแจ้งต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

6.ระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี คือ ตั้งแต่วันถัดจากวันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2575

ส่วนทางด้าน คุณอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่ามาตรการดังกล่าว เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากรกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักนวัตกรรมแห่งชาติ และสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ Startup ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น เสริมสร้างการลงทุนภายในประเทศ ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างยั่งยืน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ทั้งนี้ มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุน Startup ในครั้งนี้ จะช่วยสนับสนุนให้  Startup ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น และง่ายขึ้น ซึ่งสภาดิจิทัลฯ ได้คาดการณ์ว่าจากมาตรการภาษีนี้จะทำให้ภายในปี 69 จะมีเงินลงทุนใน Startup ไทยเพิ่มขึ้นประมาณ 3.2 แสนล้านบาท และก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4 แสนตำแหน่ง และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวม 790,000 ล้านบาท

และก่อให้เกิดการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการ Startup และประชาชน รวมถึงเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย

อ้างอิง กรุงเทพธุรกิจ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SpaceVIP จัดทริปกินมื้อหรูระดับมิชลินบนอวกาศ สนนราคาต่อหัว 17.8 ล้านบาท

โอกาสสำหรับการทานอาหารสุดหรูบนอวกาศมาถึงแล้ว SpaceVIP เตรียมเปิดประสบการณ์การทานอาหารจากเชฟระดับ Michelin Star ที่ความสูงกว่า 100,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเลในการผจญภัยบนขอบอวกาศ โอกา...

Responsive image

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? แหล่งข่าวชี้ Selena Gomez เตรียมขายแบรนด์

Rare Beauty จะเปลี่ยนเจ้าของ? ข่าวจาก Bloomberg ออกมาว่าตอนนี้ Selena Gomez ได้เริ่มดำเนินการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนเพื่อประเมินมูลค่าแบรนด์แล้ว...

Responsive image

ลุยตลาด EV ปตท.ตั้งบริษัทลูก ‘X Mobility Plus’ เป็นดีลเลอร์ขายรถไฟฟ้าจีน XPENG

PTT ตั้งบริษัทลูก ‘X Mobility Plus’ เป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า XPENG...