ติดตาม กฎหมายยกเว้น Capital Gains Tax ใช้ได้จริงตอนไหน ใครได้ประโยชน์บ้าง ? | Techsauce

ติดตาม กฎหมายยกเว้น Capital Gains Tax ใช้ได้จริงตอนไหน ใครได้ประโยชน์บ้าง ?

หลังจากที่รอคอยกันมานานกับการยกเว้น Capital Gains Tax ให้กับนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติมาตรการดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันอยู่ในกระบวนการร่างพระราชกฤษฎีกาและบังคับใช้กฎหมายในที่สุด 

จากประเด็นดังกล่าว ทำให้มีข้อสงสัยในหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ประโยชน์ที่จะได้รับจากกฎหมายนี้ นักลงทุนที่ได้รับสิทธิ กระบวนการกว่าที่จะบังคับใช้จริง หรือความชัดเจนในบางประการสำหรับรูปแบบของการลงทุน  Techsauce จึงได้มีการจัด Live พิเศษในรายการ  Tech Law Talk ที่พูดคุยกับทั้งนักกฎหมาย และนักลงทุน ได้แก่ คุณศรัณย์  สุตันติวรคุณ  นายกสมาคมไทยผู้ประกอบการธุรกิจเงินร่วมลงทุน TVCA, คุณโสมิภา  ภคภาสน์วิวัฒน์  และคุณนพพร  เจริญกิจราษฎร์  Partner, Baker & McKenzie Thailand มาร่วมถกประเด็นและไขข้อสงสัยกัน โดยมีสาระสำคัญดังนี้

รายละเอียดพ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษี Capital Gains เบื้องต้น

  • บริษัทสตาร์ทอัพที่จะเข้าเกณฑ์ต้องจดทะเบียน 20 ล้าน และได้รับการรับรองจากสวทช.หรือ NIA และเป็นธุรกิจที่อยู่ใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐ 

  • ผู้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีคือ นักลงทุนไม่ว่าจะลงตรง (รวม angel investor) หรือผ่าน VC, CVC หรือ PE Trust  จะได้รับการยกเว้นกำไรในการโอนหุ้นเป็นเวลา 10 ปี (บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ)

  • นักลงทุนต้องถือหุ้นในบริษัทสตารท์อัพหรือ CVC มากกว่า 24 เดือน แล้วสตาร์ทอัพต้องมีรายได้ในกิจกรรมหลักไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ในช่วงเวลา 2 ปีก่อนที่จะขายหุ้นออกไป

(อ่านสาระสำคัญเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ของร่าง พ.ร.ฎ. เพิ่มเติม)

กระบวนการร่างพ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษี Capital Gains

หลังจากที่ครม.อนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ขั้นตอนต่อไปคือส่งไปให้สำนักงานกฤษฎีกาตรวจสอบการใช้ถ้อยคำ ซึ่งในส่วนนี้จะสามารถเพิ่มความชัดเจนและรายละเอียดของกฎหมายได้ และเสนอไปที่สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิธัย และประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา โดยในเบื้องต้นคาดว่ากฎหมายยกเว้น  Capital Gain Tax จะบังคับใช้ได้ภายในเดือนพฤษภาคม

การเตรียมตัวระหว่างที่รอบังคับใช้กฎหมาย

  • สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพแน่นอนว่าถ้าจะได้ยกเว้นภาษีจากพ.ร.ฎ.นี้ ก็จะต้องมีกำไรจาก Capital Gain ก่อน ซึ่งส่วนนี้อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมสตาร์ทอัพ

  • บริษัทสตาร์ทอัพต้องขึ้นทะเทียบกับสวทช.หรือ NIA ว่าเข้าเกณฑ์ของพ.ร.ฎ.หรือไม่ 

  • สำหรับนักลงทุนก็ต้องจดทะเบียนกับทางกลต. ซึ่ง VC ในเกณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นคือ CVC และ PE Trust

ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจาก การยกเว้นภาษี Capital Gains

การยกเว้นภาษี Capital Gains เป็นเวลา 10 ปี ให้กับนักลงทุนไทยและต่างชาติ ถือเป็นการสร้างสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งเสริมศักยภาพการลงทุนให้กับสตาร์ทอัพและ Tech Companies ได้อย่างมาก อีกทั้งยังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ อาจไม่ใช่ปัจจัยดึงดูดให้ต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมาไทยในทันที แต่ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพื่อให้สตาร์ทอัพไทยเติบโตสู้กับประเทศอื่นได้ และทำให้สตาร์ทอัพไทยดึงบุคลากรที่มีศักยภาพจากทั่วโลกมาร่วมสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นด้วย 

นอกจากประโยชน์นอกจากที่กล่าวมาเบื้องต้นแล้ว ในช่วงแรกที่ออกพ.ร.ฎ.ผู้ที่ได้รับประโยชน์คือธุรกิจ Mature แล้ว พร้อมจะระดมทุน แต่ในระยะยาวจะทำให้คนกล้าเข้ามาในวงการสตาร์ทอัพไทยมากขึ้นทั้งในฐานะผู้ประกอบการ และนักลงทุน

ความชัดเจน และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  • การยกเว้นภาษีเป็นเวลา 10 ปี นานพอที่จะให้เห็นผลลัพธ์ แต่อาจไม่พอในแง่ของความต่อเนื่อง เพราะว่าพอ 10 ปีมันต้องต่อใหม่ โดยก่อนหน้านี้ไทยเคยมีมาตรการยกเว้นภาษีดังกล่าวมาแล้วในช่วงปี 2559-2561 และยกเลิกไป จึงขอเสนอให้ภาครัฐพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้ง

  • ในกฎหมายตอนนี้ยกเว้นแค่การขายหุ้นกับ trust ควรรวมตัว PE Trust ไม่ใช่แค่ช่วยคนที่ลงทุนโดยตรง แต่ควรช่วยคนที่ลงผ่านมืออาชีพด้วย ถ้า PE Trust ไม่เสียภาษี พอเขาได้กำไรแล้วเงินก็จะกลับไปที่ตัว Startup ไม่เช่นนั้นผู้ที่ลงทุนใน PE Trust ก็จะต้องเสียภาษี ซึ่งจะเกิดความไม่เท่าเทียมเมื่อเทียบกับการลงทุนในสถานะอื่น

  • แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีร่างพ.ร.ฎ.ที่เผยแพร่ออกมาแน่ชัด แต่หวังว่ากฎที่ออกมาจะสามารถใช้ได้จริง และเกิดประโยชน์ต่อ Startup Ecosystem ของไทย

  • สำหรับช่องว่างในพ.ร.ฎ.นั้น ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นทางกรมสรรพากรสามารถออกเป็นกฎหมายลูกตามมาทีหลังได้ เพื่อลดระยะเวลาที่จะออกตัวพ.ร.ฎ.หลัก 

ติดตามรายการ Tech Law Talk ซึ่งเป็น Live พูดคุยฉบับเต็มได้ที่  Tech Law Talk Live 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...

Responsive image

AirAsia MOVE ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ สู่ผู้นำแพลตฟอร์มเดินทาง OTA แบบคุ้มครบจบในแอปเดียว พร้อมแพ็กเกจบินทั่วอาเซียนแบบไม่จำกัด

airasia Superapp ประกาศรีแบรนด์ดิ้งใหม่ในชื่อ AirAsia MOVE พร้อมปรับโฉมแอปพลิเคชันใหม่ และเสริมกลยุทธ์ด้านธุรกิจเพื่อผลักดันให้ AirAsia Move เป็นผู้นำด้านแพลตฟอร์ม OTA (ตัวแทนด้านก...