Buddy Home Care กิจการแก้ปัญหาผู้สูงอายุและเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA | Techsauce

Buddy Home Care กิจการแก้ปัญหาผู้สูงอายุและเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA

“Buddy Home Care” กิจการเพื่อสังคมที่ช่วยแก้ปัญหาผู้สูงอายุ และเด็กชาวเขาที่ขาดโอกาส หนึ่งใน 5 ทีมบริษัทผู้ชนะโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA กับแผนการดำเนินงานธุรกิจที่ส่งเสริมสังคมให้ยั่งยืน

คุณเจน เจนวิทย์ วิสุดสงคราม กรรมการบริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง Buddy Home Care ได้กล่าวถึงความรู้สึกเกี่ยวกับโครงการ “Accelerate Impact with PRUKSA” ตลอดระยะเวลาร่วม 5 เดือนที่ได้เข้าร่วมโครงการ

ความรู้สึกที่ได้ร่วมงานในโปรเจ็ค Accelerate Impact with PRUKSA 

ตั้งแต่ตอนที่ได้รู้ข่าว ว่าจะมีโครงการดีๆเช่นนี้เกิดขึ้น ทางเราดีใจมากเลยนะครับ เพราะปกติแล้วงานในด้าน Social Enterprise มันจะเป็นงานที่ Entrepreneur หรือผู้ร่วมก่อตั้งลุยกันเอง ด้วยเรื่องงบประมาณที่จำกัดหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ต้องใช้ความสามารถในการประกวด เพื่อที่จะได้หาเงินมาสร้าง Impact ให้กับสังคม พอทราบข่าวว่าทางพฤกษาได้เปิดรับโครงการตรงนี้ ทางเราก็ไม่รอช้า ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที เพราะเราเริ่มเห็นว่า ผู้เข้าร่วมที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ให้ความสำคัญกับงานด้านสังคมมากขึ้น เป็นเรื่องที่เราประทับใจตั้งแต่แรก เลยตัดสินใจไม่นานที่สมัครเข้ามา โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วเรื่องของวัตถุประสงค์ทของทางพฤกษา บังเอิญว่าสอดคล้องกับสิ่งที่ทาง Buddy Home Care ได้ตั้งไว้

จากโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA รู้สึกได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

ตอนที่เราสมัครเข้ามาตอนแรก เราเข้าใจว่าทางพฤกษาจะสนับสนุน และมีส่วนช่วยเหลือในด้านงบประมาณเท่านั้น ตอนแรกเลยมองว่าจริงๆแล้ว เราแค่มาขอรับเป็นทุนการศึกษา เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดให้กับน้องๆเยาวชนชนเผ่า ให้เขามีอาชีพเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุแค่นี้ก็น่าจะพอแล้ว แต่ว่าพอได้เข้ามามีโอกาสพูดคุยปรากฏว่าทางพฤกษานั้นมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเข้ามามีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาสังคม จากเรื่องราวที่เป็นรากของปัญหานั้นจริงๆ โดยการสนับสนุนให้กับทาง Social Enterprise ได้มีโอกาสพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งส่วนนี้เป็นมิติที่ผมคิดว่ามันเป็นมิติใหม่ของการเข้ามาส่งเสริม และมีส่วนช่วยการเดินในเรื่องของการทำธุรกิจในเรื่องของ Social Enterprise และ Social Entrepreneur หรืองานภาคสังคม การแก้ปัญหาของสังคมนั้น เราเอง ได้ทำเรื่องนี้มายาวนาน บางครั้งเราใช้กลยุทธ์และวิธีการแบบเดิมๆ ที่ต้องการจะแก้ปัญหานี้ ซึ่งมันก็ยังคงดำเนินต่อไป และเห็นได้ว่า ปัญหาเดิมๆก็ยังคงอยู่ แต่สิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นเรื่องราวที่เราประทับใจมากกับการที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ ก็คือการแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวคิด อีกทั้งเรายังมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ยืนอยู่กับเราด้วยกันตลอด ทางทีมพฤกษาไม่ได้แค่สนับสนุนด้านการลงทุนเป็นตัวเงินเท่านั้น แต่ยังมีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการเข้ามาแก้ไขปัญหา และมีอีกทั้งการแชร์เทคนิค วิธีการแก้ปัญหา ไอเดียต่อยอด แล้วยังเปิดรับฟัง ช่วยกันปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเพื่อให้นำสู่ความยั่งยืน ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าธุรกิจอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ เราก็จะสามารถยั่งยืนไปด้วยกันได้

เหตุการณ์ที่ทางทีมพฤกษาได้เข้ามามีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างทางในโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA

ในส่วนของทางทีมพฤกษาที่เข้ามาช่วยเหลือเรา มันสะท้อนตั้งแต่ตอนที่เขามาฟังเรานำเสนอแผนไอเดียธุรกิจในวันแรกที่เรามาแล้ว ทางทีมพฤกษารับรู้ปัญหาแล้วก็ตัดสินใจเลือกเรา ในการได้เข้ามาเป็นหนึ่งใน 5 ทีมบริษัท ตรงนี้เป็นจุดแรกที่ทำให้เห็นแล้วว่า สิ่งที่พวกเราพยายามแก้ปัญหามานานนั้น มันก็คือปัญหาสังคมที่ไม่ได้ถูกซุกอยู่ใต้พรม มีคนที่อยู่ในภาคธุรกิจขนาดใหญ่มองเห็นปัญหานี้เช่นกัน แล้วก็พร้อมที่จะสนับสนุนเรา สิ่งที่ประทับใจมากๆก็คือ ทางทีมพฤกษาไม่ได้แค่นั่งให้คำแนะนำอยู่ในห้องแอร์ แต่ทีมพฤกษาเข้ามาทำงานร่วมกับ Buddy Home Care ทำงานกันแบบถึงลูกถึงคน และยังร่วมกันเดินทางไปกับเราเพื่อลงไปสัมผัสพื้นที่จริง บางครั้งการทำงานที่จะเข้าใจปัญหาสังคมที่แท้จริงนั้น มันไม่ใช่แค่ได้รับรู้แค่ปัญหา แต่การเข้าไปมีประสบการณ์กับปัญหานั้น มันจะทำให้เขาเข้าใจถึงรากของปัญหาและให้คำแนะนำกับ Social Enterprise แบบเราได้ตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น

สุดท้ายนี้ ทาง Buddy Home Care อยากฝากอะไรถึงกลุ่มคนที่มีแนวทางการทำธุรกิจเพื่อสังคมบ้าง

สำหรับคนที่มีความสนใจที่จะแก้ปัญหาสังคม อาจจะลองมองกลับมาที่ตัวเราเองก่อนว่า ตัวเราเองมีความรู้สึกอัดอั้นต่อปัญหาเหล่านั้นมากน้อยแค่ไหน เราเข้าใจปัญหานั้นมากน้อยแค่ไหน และเรามีความตั้งใจจริงไหมที่จะแก้ปัญหานั้น เพราะว่าปัญหามันมีความซับซ้อนในบริบทของปัญหา มันไม่ใช่แค่ดีดนิ้วครั้งเดียวแล้วเราจะสามารถแก้ปัญหานั้นได้เลย ปัญหาหลายๆอย่างมันดำเนินต่อไปและมันก็มีวัฒนาการของปัญหา ปัญหามันจะค่อยๆเปลี่ยนและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลา สำหรับน้องๆ ที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA ในปีต่อๆไป ก็คิดว่าควรจะเข้าใจปัญหาอย่างแท้จริง เริ่มต้นลงมือทำอะไรบางอย่าง คุณจะต้องรู้สึกถึงการเป็นผู้ประกอบการที่ไม่ได้แค่อยากจะแบมือขอเงินใคร เพื่อที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาสังคม แต่คุณนำเสนอแนวทาง หรือโมเดลบางอย่าง ที่จะแก้ปัญหาทางสังคมไปด้วยกัน และผมเชื่อว่าทางทีมพฤกษาก็พร้อมที่จะคอยให้คำแนะนำ และสนับสนุนทุกการช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 

สำหรับโครงการดีๆที่จะช่วยส่งเสริมสังคมในอนาคต สามารถติดตามรายละอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่  https://www.pruksaimpact.com/

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

One Bangkok พัฒนากรุงเทพฯ ชูแนวคิด “The Heart of Bangkok” เมืองที่ใช้ใจสร้าง

วัน แบงค็อก พลิกโฉมวงการอสังหาฯไทย ด้วยการสร้างปรากฎการณ์ใหม่ ปักหมุด “เมืองกลางใจ” หรือ The Heart of Bangkok เมืองที่ใช้ใจสร้าง พร้อมเผยประสบการณ์ชอปปิ้งและไลฟ์สไตล์ระดับโลก เตรีย...

Responsive image

Indorama Ventures ออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้าน ตอกย้ำผู้นำธุรกิจยั่งยืน

Indorama Ventures ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน 1 หมื่นล้านบาท ผ่านการออกหุ้นกู้สกุลเงินบาทให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนร...

Responsive image

Jitta ก้าวสู่ปีที่ 12 เดินหน้าแก้วิกฤตการเงิน หนุนคนไทยออมและลงทุนอัตโนมัติ

Jitta เข้าสู่ปีที่ 12 เติบโตอย่างแข็งแกร่งบนเป้าหมายที่จะสร้างนวัตกรรมทางการเงิน เพื่อช่วยให้คนไทยเข้าถึงการลงทุนที่ง่ายและสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่า...