มิติใหม่ของวงการก่อสร้าง เมื่อคอนกรีตในวันนี้ซ่อมตัวเองได้แล้ว จากนวัตกรรมคอนกรีตที่มีส่วนผสมจากแบคทีเรีย เปลี่ยนการใช้คอนกรีตแบบเดิม ๆ ไปสู่ความยั่งยืนมากขึ้น
คอนกรีตเป็นวัสดุที่ใช้กันมากที่สุดในการก่อสร้างและถูกใช้งานมานานหลายทศวรรษ เพราะมีความ แข็งแรง ทนทาน และยืดหยุ่นสูง คอนกรีตได้รับการพัฒนาขึ้นจนมีหลายแบบ หลายเกรดให้ได้เลือกใช้งานตามองค์ประกอบและประสิทธิภาพ
แนวคิดแรกในการพัฒนาคอนกรีตจากวัสดุชีวภาพเริ่มจาก นักจุลชีววิทยาชาวดัทช์ Hendrik Jonkers ในปี 2006 กับคำถามที่ว่า “จะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะใช้แบคทีเรียเพื่อสร้างคอนกรีตที่ซ่อมแซมตัวเองได้”
ในที่สุดในปี 2017 เขาได้พัฒนาคุณสมบัติสุดเจ๋งของคอนกรีตที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนได้สำเร็จ ด้วยการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบของคอนกรีตปกติเล็กน้อยโดยการผสมแบคทีเรียเข้าไป ซึ่งไม่กระทบกับประสิทธิภาพของคอนกรีตแบบเดิม ๆ
แต่เพิ่มคุณสมบัติการซ่อมแซมตัวเองเมื่อแตกร้าว โดยการใช้นํ้าเข้าไปกระตุ้นให้แบคทีเรียผลิตหินปูนที่จะมาช่วยผสานรอยแตกได้นั่นเอง
Bio Concrete กำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าจะเข้ามาเปลี่ยนเกมในวงการก่อสร้างไปสู่ความยั่งยืนจากการใช้วัสดุทางชีวภาพที่ช่วยซ่อมแซมตัวเองได้ Hendrick Jonkers ยั่งคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา Bio Concrete เพิ่มความคุ้มทุนในการผลิตและตอบสนองการใช้งาน สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
อ้างอิง: edition.cnn, buildsoft
Sign in to read unlimited free articles