คำถามยอดฮิตประจำช่วงที่ผ่านมาในแวดวงเทคโนโลยี คงหนีไม่พ้นในเรื่องของ AI เพราะใครๆ ก็กลัวว่า AI จะมาทำหน้าที่แทนและแทรกซึมอยู่ในงานต่างๆ ของมนุษย์ ล่าสุด AIS ได้จัดงาน Master Skill 4.0 “ทักษะที่คนยุค Digital ต้องมี และ AI แทนไม่ได้” โดยความร่วมมือระหว่าง AIS The StartUp, Techsauce และ Thailand Tech Startup Association และ SkillLane
เริ่มกันที่ ดร.ศรีหทัย พราหมณี Head of AIS The StartUp ได้แนะนำและชวนกันตั้งคำถามว่าเราจะอยู่ร่วมกับ AI และใช้ AI เพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร หนึ่งในที่ทักษะสำคัญที่ AI แทนไม่ได้ คือทักษะ Leadership สำหรับ ดร.ศรีหทัย ได้พูดถึงการที่คุณจะเป็นผู้นำต้องเริ่มจากการที่จะสามารถนำตัวเองให้ได้ก่อน ก่อนที่จะไปนำคนอื่น โดยทักษะที่สำคัญคือความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมของกลุ่มคนให้มีจุดหมายปลายทางเดียวกัน
นอกจากนี้ ดร.ศรีหทัย ได้เน้นย้ำถึงคำว่า จิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ การที่เรารู้สึกถึงความเป็นเจ้าของ การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและผลิตภัณฑ์ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะช่วยให้เราสามารถดำเนินกิจกรรมนั้นต่อไปให้ประสบความสำเร็จ เพราะคำว่าผู้ประกอบการหมายความว่าผู้ที่ประกอบภารกิจให้ดำเนินไปตามเป้าหมาย ดังนั้นจึงไม่ได้เฉพาะจะจงแค่ในส่วนของนักธุรกิจแต่รวมไปถึงทุกคน
และอีกหนึ่งคำที่ ดร.ศรีหทัย ให้ความสนใจคือคำว่า Intraperneur หมายถึง คนที่มีความเป็นผู้ประกอบการในองค์กร ผู้ที่ไม่ได้มองว่าตนเองเป็นเพียงพนักงานแต่เป็นผู้ที่มองว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของตน และผลักดันคุณค่าบางอย่างสู่องค์กร
โดยได้ทิ้งท้ายไว้ว่า "หากคุณเป็น Leader ที่ดี คุณจะมีทักษะ Management แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้าคุณมีตำแหน่ง Managment คุณจะมีทักษะ Leadership"
ด้าน ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม President of Thailand Tech StartUp Association ได้ยกประโยคหลักๆ ให้เข้าใจเกี่ยวกับโลกในทุกวันนี้ง่ายๆ ว่า “โลกทุกวันนี้มีทั้งความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และไม่ชัดเจน” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ล้วนทำให้เราทุกคนอยู่ในความเสี่ยงสูง
ในอนาคต AI อาจจะเข้ามาแทนที่คุณ ดังนั้นคุณต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าคุณจะแตกต่างได้อย่างไร ปรับตัวอย่างไร ทักษะ Leadership จึงเป็นเรื่องจำเป็น ดร.พณชิต ยังเสริมอีกว่า Leadership นั้น เกิดจากการฝึกฝนเรียนรู้และเป็นปัจเจก เช่นเดียวกันคุณต้องพร้อมนำตัวเองและให้คนอื่นนำคุณ
Appreciation of Technology
เริ่มต้นกันที่ Appreciation of Technology ความเข้าใจว่าเราชื่นชอบและไม่ชื่นชอบอะไรในเทคโนโลยี สู่การเชื่อมโยงจุดต่างๆ เข้าด้วยกัน นำเอาความชอบบางส่วนของเทคโนโลยีมาเชื่อมโยง เพื่อเป็นคนที่รู้ลึกและรู้กว้าง หรือตามทฤษฏี T Shaped เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานกับชีวิต
Freedom&Responsibility ต้องมีอิสระแต่ก็อยู่บนพื้นฐานของหน้าที่ความรับผิดชอบ
Vision&Communication ภาพที่ต้องการสื่อสารให้อีกคนหนึ่งเห็น
เป็นไปได้ว่าในปี 2050 เราอาจจะค้นพบว่ามีอาชีพใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน อย่างเช่น อาชีพนักออกแบบเวลาว่าง เพราะเมื่อ AI สามารถทำงานแทนเราได้ มนุษย์ก็จะมีว่างเยอะมาก
Ethics&Privacy จริยธรรมและความเป็นส่วนตัว หนึ่งในอีกปัจจัยสำคัญที่ AI อาจจะยังไม่มี ซึ่งทุกวันนี้เรื่องจริยธรรมนั้นยังไม่มีการกำหนดตายตัว เนื่องจากเป็นเรื่องของ ความเชื่อ และความคิด
ดร.พณชิต มองว่า ในอนาคตเราจะเปลี่ยนจาก Work-life Balance สู่ Work-Life Integration จากการทำงานที่มีเวลาสมดุลสู่การค้นหางานต้องตอบความหมายและเป้าหมายของชีวิต เราจะผสานงานเข้าสู่ชีวิตประจำวัน และยังพูดถึงวัฒนธรรมองค์กรว่า วัฒนธรรมคือการสื่อสาร และจำเป็นอย่างยิ่งในองค์กร การสื่อสารให้คนในองค์กรเห็นภาพเดียวกันจึงเป็นเรื่องยาก ดังนั้นสิ่งที่เราต้องการก็คือ
Right Structure (โครงสร้างที่ใช่), Right People (คนที่ใช่), Right Culture (วัฒนธรรมที่ใช่)
ในงานครั้งนี้ยังมี Panel Discussion ในเรื่อง Leadership ภายในองค์กรอีกด้วย โดย คุณยอด ชินสุภัคกุล CEO จาก Wongnai คุณมิหมี อรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO&Co-founder แห่ง Techsauce คุณฐากูร ชาติสุทธิผล และ คุณชวิน ศุภวงศ์ CEO จาก FoodStory
คุณยอด จาก Wongnai เล่าว่า ในสมัยก่อน องค์กรมีเพียง 30 คน ทำให้มีความสนิทสนมกัน เมื่อขยายมาสู่ 150 คน เลยต้องมีการปรับโครงสร้าง แต่เมื่อมีจำนวนพนักงานเกิน 150 คนเราก็เปลี่ยนวิธีการบริหาร เพราะเริ่มมีระยะห่างมากขึ้น ในตอนที่เรามีพนักงานจำนวน 30-150 คน บริษัทสามารถกำหนดบทบาทหน้าที่ และสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ง่าย อาจจะใช้ OKR หรือวิธีการอื่นๆ แต่เมื่อมีจำนวน 300 คนก็ปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องของการกำหนด Vision และ Mission ให้ชัดเจน เพื่อที่จะให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน
ฝั่งของ คุณฐากูร แห่ง FoodStory เล่าว่า การตั้ง Vision และ Mission หรือตั้งเป้า OKR ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เพื่อให้องค์กรปรับตัวสม่ำเสมอ การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยลดการตั้งคำถาม และช่วยกำหนดทิศทางอย่างชัดเจน อีกประเด็นคือการมี Co-founder 2 คน ก็ค่อนข้างมีผลเช่นกัน เนื่องจากวิธีการบริหารที่ต่างกัน โดยเน้นหาบุคคลากรที่มี “ความดื้อแต่ไม่ด้าน” คือคนที่ค่อนข้างทะเยอทะยานพร้อมสู้ในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะปรับตัวและรับข้อเสนอแนะใหม่ๆ ด้วย เพราะองค์กรมีขนาดเล็กจึงพยายามจะบริหารเสมือนครอบครัว
อีกทั้งพยายามผลักดันเรื่อง Intraperneur ในองค์กร และผลักดันพนักงานให้พัฒนาทักษะจำเป็นอยู่ตลอด อีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อรับเงินทุนมาแล้วก็ต้องพาธุรกิจไปให้ได้ จากการเข้าใจว่าเราเติบโตแล้วสู่การเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ในพื้นที่ใหม่ Leadership จึงมีผลอย่างมากเพราะเราต้องพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
คุณชวิน กล่าวเสริมว่า “Leadership สำหรับผม คือคำว่า อยู่เป็น การรู้กาลเทศะและวางตัวอย่างถูกต้อง น้องๆ ที่จบใหม่ ส่วนใหญ่มักไม่ถูกสอนในเรื่อง Leadership ซึ่งนี่นับว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะฉะนั้นเราก็อยากจะพยายามสร้างความ Leadership ให้กับน้องๆ ในทีม จะทำอย่างไรให้น้องๆ ที่เข้าทำงานและต้องก้าวขึ้นเป็นหัวหน้า สามารถปรับตัวได้และขึ้นมาบริหารงานระดับหัวหน้าทีมได้”
คุณมิหมี จาก Techsauce มองว่า แน่นอนว่าในคนรุ่นนี้พวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนงานได้หรือออกไปทำธุรกิจของตนเอง ในจุดหนึ่งทุกคนมักจะสิ่งที่ตัวเองสนใจและอยากทำ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติ ปัจจุบันองค์กรของเราสนใจในช่วงจังหวะที่ทำงานด้วยกันมากกว่า เราต้องการจะผลักดันให้พนักงานมีทักษะและได้รับประโยชน์บางอย่างในช่วงที่อยู่กับเรา และก็ยังพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้พนักงานปรับเปลี่ยนตำแหน่งงานเพื่อไปทดลองงานอื่นๆ ในองค์กรได้
ในด้าน Leadership เชื่อว่า แม่เหล็กที่ดีจะดึงดูดเหล็กที่ดีเข้ามาหากัน เราอยากจะสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้พนักงานได้ทดลองทำหลายอย่างและผิดพลาดได้ โดยกุญแจสำคัญคือต้องการให้พนักงานเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้กัน รวมถึงเราเองก็ต้องลงไปคุยกับทีมได้
คุณมิหมี กล่าวว่า “ปัจจุบันนี้ พยายามจะให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้นกับพนักงาน เปิดโอกาสให้กับพนักงาน และเชื่อว่าพนักงานแต่ละคนจะมีด้านใดด้านหนึ่งที่เก่งกว่าเราเสมอ เช่นเดียวกันต้องดูเรื่องความรับผิดชอบด้วย เลือกคนที่เก่งเข้ามาและกล้าจะให้โอกาสเขาในการได้ทดลอง”
ด้านคุณยอด เผยว่า ปัญหาหนึ่งเลยคือเราพยายามจะเลือกพนักงานในองค์กรขึ้นมาในตำแหน่งใหม่ เนื่องจากเมื่อเวลาเรารับคนนอกเข้ามา มักพบปัญหาเรื่องของการปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน ดังนั้นในบริษัทจึงมีการสอนทักษะ Leadership ให้กับพนักงาน โดยจะมีการสอนทุกๆ 3 เดือนหรือครึ่งปี เพราะ Leadership คือเรื่องของการฝึกฝนและเรียนรู้ ส่วนการเลือกคนขึ้นมาในระดับ Mangement เลือกจากผลงาน แต่ก็แน่นอนว่าคนที่เก่งที่สุดอาจจะไม่ใช่คนที่มี Leadership ที่ดีที่สุด หรืออาจจะเลือกคนที่มีความเป็นไปได้ คนที่มีวัตถุดิบที่ดี เช่น เป็นคนที่สื่อสารได้ดี
ฝั่ง Food Story เสริมว่า บริษัทพยายามจะเข้าใจพนักงานและคอยตรวจสอบว่าแต่ละคนเป็นอย่างไรบ้าง โดยทางบริษัทมักจะพยายามคุยกับพนักงานทุกสัปดาห์ อาจจะมีการส่งไปเข้าเรียน หรือส่งเสรืมพนักงานในด้านต่างๆ
Sign in to read unlimited free articles