บทสรุป AFTERKLASS ปีที่ 4 ต่อยอดความสำเร็จกับ Challenge ใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน | Techsauce

บทสรุป AFTERKLASS ปีที่ 4 ต่อยอดความสำเร็จกับ Challenge ใหม่เพื่อสังคมที่ยั่งยืน

เทรนด์อาชีพที่คนรุ่นใหม่หันมาสนใจกันมากขึ้น เพราะเปี่ยมไปด้วยโอกาสและความเป็นไปได้ พร้อมได้ทั้งความท้าทายและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการในตัวเองมากขึ้น “สตาร์ทอัพ” จึงเป็นเทรนด์หนึ่งที่คนรุ่นใหม่เริ่มสนใจ และมองหาพื้นที่ในการแสดงออกในการเป็นผู้ประกอบการ เช่น เวทีแข่งขันไอเดียธุรกิจในรูปแบบ Hackathon มากขึ้น เช่นเดียวกับ โครงการ AFTERKLASS by KBank

AFTERKLASS By KBank ส่งต่อความรู้ ต่อยอดไอเดียเยาวชน

AFTERKLASS ของ ธนาคารกสิกรไทย เป็นแพลตฟอร์มรวมความรู้ ด้านการเงิน อาชีพและการเรียนรู้ทักษะชีวิตอื่นๆ เพื่อยกกระดับศักยภาพของเยาวชนรุ่นใหม่ให้ดียิ่งขึ้น พื้นที่ที่เป็นเสมือนสนามเด็กเล่นให้นักธุรกิจวัยมัธยมได้ทดลอง ค้นหาตัวเอง และลงมือสร้างธุรกิจจริง จนมาถึงกิจกรรมใหญ่ประจำปี AFTERKLASS Business KAMP ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 ภายใต้ธีมต่างๆ ที่ให้เยาวชนลงมือทำจริง ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน

โดย AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ได้ต่อยอดความสำเร็จจากปี 2022 ที่มีนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 140 ทีม จนคัดเหลือ 8 ทีมสุดท้ายที่สร้าง    ไอเดียธุรกิจนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมอย่างยั่งยืน ภายใต้ธีม SDGs (Sustainability Development Goals) มาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างแผนธุรกิจ โดยต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้น้องๆ เด็กรุ่นใหม่เติบโตไปเป็นพลเมืองที่ดี หรือ Good citizenship ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีส่วนช่วยเหลือ และทำให้สังคมที่เราอยู่ดีขึ้น โดยมีเมนเทอร์ให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

โจทย์ใหม่แห่งความท้าทายของปี 2023 นี้ Innovation for a Sustainable Society

ในปี 2023 ธนาคารกสิกรเดินความสำเร็จของโครงการ AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ร่วมกับมูลนิธิเพาะพันธุ์ปัญญา ผ่านโจทย์การนำเสนอแผนธุรกิจอย่างยั่งยืน ในธีม Innovation for a Sustainable Society Hackathon 2023        ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้วิธีการพัฒนาและต่อยอดไอเดียนวัตกรรม เพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมให้เกิดขึ้นจริง เงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 200,000 บาท

โดยในปีนี้เป็นการแข่งขันสร้างไอเดียธุรกิจและนวัตกรรมสตาร์ทอัพในรูปแบบ Hackathon ด้วยโปรแกรมบ่มเพาะนวัตกรรม (Incubation Program) ที่ต้องเป็นแนวคิดสร้างสรรค์ และช่วยผลักดันให้นำไปปรับทดสอบเป็น MVP และพัฒนาต่อให้เกิดขึ้นจริงอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ความท้าทายของปีนี้มีโจทย์ด้านความยั่งยืนที่สุดใน 3 ด้านได้แก่

  • ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คน (Health and well-being of people) ไอเดียนวัตกรรมที่มุ่งมั่นส่งเสริมการมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในสังคม และยกระดับผู้คนให้มีชีวิตที่ดีทั้งกายและใจ
  • ด้านคุณภาพชีวิต ชุมชน สังคม และเมืองอัจฉริยะ (Quality of life, community, society and smart city) ไอเดียนวัตกรรมที่ยกระดับการอยู่อาศัยและชุมชนให้น่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ด้านสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ (Environment and nature) ไอเดียนวัตกรรมเพื่อสร้างความยั่งยืนให้สิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และระบบนิเวศที่ดี

โดยผู้ถูกคัดเลือก 10 ทีมสุดท้าย ได้เข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะในรอบ Incubation Boot Camp จำนวน 3 วัน ระหว่างวันที่ 25-27 ต.ค. 66 ที่ผ่านมา เปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในมิติต่างๆ ตั้งแต่กระบวนการคิดไอเดียนวัตกรรมจากความต้องการของผู้ใช้ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดว่าน่าลงทุนหรือไม่ จนไปถึงการทำแผนธุรกิจเพื่อนำเสนอแบบ Startup Pitching ต่อหน้าคณะกรรมการเพื่อขอรับเงินทุนไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นจริง ก่อนจะคัดเลือกอีกครั้งสำหรับ 6 ทีมสุดท้ายบนเวทีในวัน Hackathon Day

Hackathon Day ประชันไอเดีย สร้างนวัตกรรม เพื่ออนาคตยั่งยืน

สำหรับกิจกรรม Hackathon Day เป็นปีแรกที่ให้โอกาสน้องๆ ได้ไปพัฒนาไอเดียจนออกมาเป็น MVP ด้วยการให้ทุนเพื่อทำตัวต้นแบบออกมาใช้จริง งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 ธ.ค.-3 ธ.ค. 66 เยาวชนทั้ง 6 ทีมได้เรียนรู้วิธีการ นำพานวัตกรรมเข้าถึงกลุ่มลูกค้า (Customer Acquisition) ที่มาพร้อม แผนธุรกิจ ทั้งในมุมของการผลิตและการดำเนินงาน (Production & Operation) การตลาด (Marketing) และการเงิน (Finance) ที่จะทำให้กรรมการในเวทีสุดท้ายยอมรับในคุณค่าความสามารถของนวัตกรรมเพื่อสร้าง    ผลกระทบด้านความยั่งยืนได้จริง โดยมี คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ ธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้มอบรางวัลให้กับเยาวชนทั้ง 6 ทีม

โดยผลการตัดสินไอเดียวนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน จาก AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 ภายใต้ธีม Innovation for a Sustainable Society Hackathon 2023 มีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ ทีมเก๋ากี่ โดยนำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า How are you? Online Application Platform ที่จะเป็นเหมือนเพื่อนที่พร้อมรับฟัง ให้กำลังใจ และเป็นที่พักใจสำหรับทุกคน
  • างวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 ทีม AngsanaNew นำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า River Ranger เรือหุ่นยนต์เก็บขยะทางน้ำเพื่อลำคลองสะอาด
  • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 ทีม Flying Turtle นำเสนอไอเดียนวัตกรรมธุรกิจที่มีชื่อว่า Track Point Sensor หมวกกันน็อกนิรภัยและแอปพลิเคชั่นเพื่อจูงใจผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ให้สวมหมวกกันน็อกมากขึ้นผ่านระบบสะสมแต้ม

รางวัล Inspiration for a Sustainable Society จำนวน 3 รางวัล ได้แก่

  • ทีมจรวดทางเรียบ นำเสนอไอเดียธุรกิจ Heet รองเท้าให้ความอบอุ่นบรรเทา อาการหนาวข้อและขาสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าต์
  • ทีมซักเสร็จฟู่ (Successful) นำเสนอไอเดียธุรกิจ Bonny แอปพลิเคชั่นโกนิโอมิเตอร์ สำหรับวัดระยะการเคลื่อนที่ของข้อต่อในรูปแบบภาษาไทย เพื่อกระดูกที่ดีเหมือนมีหมอดีอยู่ข้างตัว
  • ทีม Passinion นำเสนอไอเดียธุรกิจ Smart Trash Point ถังขยะที่สนับสนุน การแยกขยะภายในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมี Feature สะสมแต้ม

คุณรวี อ่างทอง ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายบูรณาการความยั่งยืนองค์การ ธนาคารกสิกรไทย ได้กล่าวการถึงตัดสินและภาพรวมในปีนี้ว่า

“กรรมการพิจารณาจากตัวต้นแบบและแผนธุรกิจที่ทำได้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ไอเดีย ต้องเป็นของที่ขายได้จริงมีความแตกต่าง โดยเฉพาะ Product ที่ช่วยคน เป็นโจทย์สำคัญที่จะฝึกให้เยาวชนเก่งขึ้น และเป็นคนดีที่ได้ส่งต่อกลับคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งในอนาคตก็สามารถนำเยาวชนในโครงการไปต่อยอดกับบริษัทอื่นๆ ของธนาคารกสิกรไทย อย่าง Katalyst หรือ KBTG เพื่อดันศักยภาพของเยาวชนให้ไปได้สุดทาง อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของน้องๆ เช่นกัน”


นอกจากนี้ ดร.พณชิต กิตติปัญญางาม ประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ร่วมก่อตั้ง ZTRUS หนึ่งในคณะกรรมการ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า

“เยาวชนทั้ง 6 ทีมสามารถต่อยอดในอนาคตได้อย่างแน่นอน เพียงด้วยความเป็นเยาวชน อาจจะต้องมองเป้าหมายของการทำธุรกิจร่วมกับลูกค้า เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จะเป็นเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจเพื่อสังคมที่เป็นโจทย์ในปีนี้ น้องๆ อาจจะต้องเข้าใจในผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อมองหาเป้าหมายและเดินทางไปด้วยกัน ซึ่งเป็นบาลานซ์ในอนาคตสำหรับน้องๆ ทั้ง 6 ทีม จะไปต่อได้”

“งานนี้เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพ และเรียนรู้การทำธุรกิจตั้งแต่ต้น ถือว่าเป็นประโยชน์ที่ทั้ง 6 ทีมนำไปต่อยอดใช้ได้ในชีวิตจริง” คุณปรัชญา โมรา ผู้ก่อตั้งเพจ "ไปให้ถึงร้อยล้าน" เพจคนทำธุรกิจที่มีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคน กล่าวเสริม

นอกจากนี้ Hackathon Day ยังได้รับเกียรติจาก คุณธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท โรบอท เมคเกอร์ จำกัด มาเป็น Inspiration Talk แชร์แนวทางเส้นทางการสร้างธุรกิจ และไอเดียนวัตกรรมเพื่อลูกค้าและผู้คน เพื่อให้น้องๆ นำความรู้ไปปรับใช้กับแผนธุรกิจอีกด้วย 

AFTERKLASS Business KAMP ปีที่ 4 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ AFTERKLASS ที่มุ่งเน้นการให้เยาวชน ช่วงอายุ 15-20 ปี มีความรู้ด้านการบริหารจัดการการเงินต่อยอดเงินออม และ การลงมือทำธุรกิจให้เกิดขึ้นจริง เรียนรู้ วิธีการพัฒนาและต่อยอดไอเดียนวัตกรรมเพื่อช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมให้สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนได้ ผู้ที่สนใจโครงการ AFTERKLASS ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.afterklass.com หรือ Facebook: AFTERKLASS


บทความนี้เป็น Advertorial

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...