เราจะใช้เทคโนโลยีแก้วิกฤตโลกยังไง 4 เทรนด์เทคโนโลยี 2023 จาก Accenture | Techsauce

เราจะใช้เทคโนโลยีแก้วิกฤตโลกยังไง 4 เทรนด์เทคโนโลยี 2023 จาก Accenture

ในงาน Techsauce Global Summit 2023 คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Accenture (เอคเซนเชอร์) ประเทศไทย ได้ขึ้นแสดงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีของบริษัท ในหัวข้อการบรรยาย “Bridging the World Across Global Crisis” 

วิกฤตโลกได้เปลี่ยนวิถีที่เราใช้ชีวิต วิธีที่เราเคยใช้ทำงาน เปลี่ยนสิ่งที่เราเคยรู้เป็นไม่รู้จัก คุณปฐมายกตัวอย่างให้เราเห็นภาพใหญ่ของ ‘วิกฤตโลก 5 อย่าง’ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และจะเข้ามาเปลี่ยนวิธีที่เราทำธุรกิจ 

ได้แก่ ความยากจน, ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity), ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical), ปัญหาสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change and Environment)รวมถึงหนทางที่เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยแก้วิกฤตเหล่านี้  

เทคโนโลยีจะแก้วิกฤตอย่างไร ? 

คุณปฐมายกตัวอย่างที่น่าสนใจและทำให้เราเห็นภาพชัดเจนขึ้น ผ่านกรณีศึกษาจากประเทศตูวาลู ประเทศหมู่เกาะขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ระหว่างออสเตรเลียและฮาวาย ที่มีประชากรเพียง 12,000 คน 

ในการประชุม COP26 (Conference of the Parties) การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลูตัดสินใจยืนแถลงข่าวบนโพเดียมกลางทะเล สะท้อนให้เห็นถึงวิกฤตน้ำทะเลที่สูงขึ้น และตูวาลูเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ 

น้ำทะเลจะขึ้นสูง 0.2 นิ้วทุกๆ ปี ด้วยผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศ และวันหนึ่งเกาะนี้อาจหายไปจากแผนที่โลก ตูวาลูที่ไม่มีแผ่นดินก็จะไม่เหลือสถานะความเป็นประเทศ 

เทคโนโลยีดิจิทัลจะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ตูวาลูได้เปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Nation แห่งแรกของโลก โดยสร้างประเทศนี้ขึ้นมาใหม่บนโลกเสมือน Metaverse ใช้ประโยชน์จาก Digital Twin หรือ การจำลองวัตถุที่อยู่ในโลกให้ออกมาในรูปแบบเสมือน (Virtual) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลแผนที่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เอกสารราชการ ฯลฯ ทั้งหมดจะย้ายไปอยู่ในระบบคลาวด์ 

เจาะลึกเทรนด์เทคโนโลยีปี 2023 จากวิสัยทัศน์ของ Accenture

หลังจากเราเริ่มเห็นภาพว่าเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาให้โลกอย่างไร คุณปฐมาได้กล่าวต่อถึงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีของ Accenture 4 ด้าน ได้แก่ 

Digital identity : ID for everyone and everything 

คุณปฐมายกตัวอย่างประเทศเอสโตเนีย อย่างที่พวกเราทราบกันดี ประชากรในประเทศนี้ 98% มี Digital ID (e-ID) เพื่อใช้ทำธุรกรรมและรับบริการจากภาครัฐ เช่น การเลือกตั้ง ประกันสุขภาพ ภาษี การทำสัญญา ฯลฯ 

ที่ประเทศอินเดีย มีการใช้ระบบ Aadhaar แพลตฟอร์มระบบไบโอเมตริก เพื่อใช้กับการบริการสาธารณะ เช่น บริการทางการเงิน บริการเกี่ยวกับโควิด-19 การรับวัคซีน การติดตามผู้สัมผัส (Contract Tracing) 

การใช้ Digital ID เป็นเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาความยากจนและค่าครองชีพ เพราะมันจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาครัฐและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานด้วย

Your data, my data, our data

ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในยุคดิจิทัล คงหนีไม่พ้นข้อมูลที่เปรียบดั่งทองคำ วันนี้ข้อมูลสามารถกำหนดกระบวนการธุรกิจ กลุ่มผู้บริโภค การเปลี่ยนแปลงของตลาด การลงทุน ของทุกอุตสาหกรรม ฯลฯ คุณปฐมายกตัวอย่างมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่สร้างระบบ Self-powering sensor เพื่อจัดการกับข้อมูสภาพอากาศ ข้อมูลการปล่อยมลพิษ 

อีกตัวอย่างหนึ่งมาจากความร่วมมือระหว่าง Planet Labs และมหาวิทยาลัย King Abdullah ในซาอุดิอาระเบีย ใช้ดาวเทียมระบุสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร

Generalizing AI 

คุณปฐมาได้ยกตัวอย่างการใช้งาน AI ที่แพร่หลายในปัจจุบัน กับการแก้ปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์และยกระดับงานสาธารณสุข 

  • ความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์และฝรั่งเศส ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อจัดการปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ 
  • การใช้แพลตฟอร์มระบบเมมโมแกรม AI เพื่อตรวจมะเร็งเต้านม ที่ได้ผลดีกว่าและค่าใช้จ่ายน้อยกว่า โดย Vara สตาร์ทอัพเยอรมัน รวมถึงการใช้ AI ในการผลิตยา นั่นจะทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพวกเราเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น 

Our Forever Frontier 

ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี องค์กรต้องมองให้ไกลกว่าเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ 

โดยคุณปฐมายกตัวอย่างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลังงานชีวมวลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กับบริษัทเอกชน ในการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาสยานแบบยั่งยืน (SAF) เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการบิน 

อีกหนึ่งตัวอย่างมาจากบริษัท Magic Seeds ในมูลนิธิของ Bill Gates ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อแก้ปัญหาความหิวโหยในโลก เทคโนโลยีที่น่าสนใจจากบริษัทนี้มีชื่อว่า DroughtTEGO ปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดแบบลูกผสม ให้ทนต่อสภาพอากาศ ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมาก เพื่อต่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ทำให้การปลูกข้าวโพดแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลผลิตที่ดี

กรณีศึกษาทั้งหมดกำลังบอกเราว่าโลกนี้กำลังเดินเข้าสู่วิกฤต และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาได้ ปัญหาทั้งหมดที่เรากำลังเจอและจะเจอ ไม่ใช่หน้าที่ของบริษัทใด ประเทศใด บุคคลใดบุคคลหนึ่ง แต่ทุกคนที่ได้รับสิทธิพิเศษในความรู้และการเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้ ควรเป็นผู้มีหน้าที่ใช้มันเพื่อมนุษยชาติ 

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...