8 สิ่งที่ต้องคำนึง เมื่อธุรกิจต้องระดมทุนช่วงตลาดตกต่ำ | Techsauce

8 สิ่งที่ต้องคำนึง เมื่อธุรกิจต้องระดมทุนช่วงตลาดตกต่ำ

จากสัญญาณเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ปีนี้เริ่มมีความหวาดระแวงและแรงกดดันต่อการลงทุน หลังจากตลอดทศวรรษที่ผ่านมา เราได้ผ่านช่วงที่เศรษฐกิจเป็นบวก แต่ ณ ขณะปัจจุบัน นับเป็นเวลาที่ท้าทายของสภาพเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์โควิดบรรเทาแต่ทว่าตลาดไม่ฟื้นตัวตามที่คาด

8 สิ่งที่ต้องคำนึง เมื่อต้องระดมทุนช่วงตลาดตกต่ำ

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างปี 2022 กับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งก่อนๆ คือวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ถูกทำนายล่วงหน้ามานานแล้ว ไม่เหมือนกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งก่อนที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันกว่า ตลาดมีปฏิกิริยาตอบสนอง และการประเมินมูลค่าสำหรับทั้งบริษัทภาครัฐและเอกชนที่เปลี่ยนไป การลงทุนในบริษัทระยะ Growth นักลงทุนจะเริ่มสงวนเงินทุนไว้มากขึ้น และกลุ่มนายทุนหลายกลุ่มกำลังหาวิธีประเมินมูลค่าธุรกิจต่างๆ ใหม่ โดยอาจสังเกตท่าทีเพื่อรอให้ตลาดสงบลง

สำหรับการลงทุนในบริษัทระยะ Early-stage ยังคงน่าสนใจสำหรับกลุ่มนายทุนต่างๆ เนื่องจากนักลงทุนจะมองหากิจการที่ยังมีมูลค่าต่ำกว่าที่ควรจะเป็น (Undervalued) ซึ่งอาจช่วยนำไปสู่ทางออกที่ดีขึ้น และเน้นไปที่บริษัทที่สามารถรันกิจการให้มีสถานะ Cash Flow ดี มากกว่าที่จะเน้นบริษัทที่มุ่งการเติบโตจนเกินไป ซึ่งบางครั้งบริษัทที่เติบโตสูงๆ นั้นอาจมีแหล่งทุนจากการกู้ยืม หรือไม่มีความมั่นคงในกระเเสเงินหมุนเวียนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การที่ตลาดมหาชนได้รับผลกระทบเป็นโดมิโน อาจทำให้เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่สตาร์ทอัพต่างๆ จะสามารถรักษาสถานะเงินทุนที่ดีเอาไว้ได้ตลอด 

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเจ้าของกิจการในเวลานี้คือต้องตั้งสติและวางแผนอย่างเป็นกลยุทธ์ และหากจำเป็นจะต้องอาศัยเงินทุนเพิ่มเติม สิ่งต่อไปนี้คือข้อควรพิจารณาสำหรับเจ้าของกิจการเกี่ยวกับตลาดและทางเลือก ท่ามกลางช่วงเวลาแห่งความผันผวนนี้ 

ไทม์ไลน์ของธุรกิจ

เจ้าของกิจการจะต้องกำหนดขอบเขตไทม์ไลน์แผนดำเนินการขององค์กรให้ยาวกว่าเดิม อย่างเช่นในปีที่แล้ว ทาง Techcrunch เคยแนะนำให้กำหนดไทม์ไลน์สำหรับกิจการไว้ล่วงหน้า 3 - 6 เดือนสำหรับแผนสำรองการระดมทุนแต่ละรอบ ในครั้งนี้ เจ้าของกิจการจำเป็นจะต้องวางแผนสำหรับกิจการไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย  6 - 9 เดือน

มูลค่า Valuation และผลกระทบจากสัดส่วนของเจ้าของที่ลดลง 

เจ้าของกิจการต่างๆ อาจเปิดใจรับข้อเสนอการระดมทุนเพื่อสร้างมูลค่าธุรกิจให้มากขึ้น แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวลมากกว่าคือ เงื่อนไขที่เกิดขึ้นจากการระดมทุนที่เจ้าของกิจการต้องศึกษาและทำความเข้าใจอย่างละเอียดในเรื่องของการได้เปรียบ เสียเปรียบ และสัดส่วนการถือหุ้นที่อาจลดลง (Dilution) ซึ่งเป็นผลกระทบจากการที่กิจการทำการเพิ่มทุน ทำให้มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลประกอบการยังเท่าเดิม การที่มีหุ้นเพิ่มมากขึ้น ทำให้กำไรต่อหุ้นลดลงและผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ก็จะลดลง ซึ่งบางครั้งสิ่งนี้นำไปสู่อำนาจในการบริหารที่น้อยลงไปด้วย และกลยุทธ์หลังการระดมทุนที่อาจต้องจำกัดจำเขี่ยมากขึ้น

รันเวย์ของกิจการ

จากก่อนหน้านี้ที่ Y Combinator แนะนำให้ทุกบริษัททำสถานะ Default Alive อยู่ตลอด ทางที่ดีที่สุด บริษัทต่างๆ ควรต่อสายป่านการเงินให้เพียงพอกับการดำเนินกิจการอย่างต่ำ 24 เดือนขึ้นไป การต่ออายุสถานะการเงินของกิจการให้หายใจหายคอได้มากขึ้นช่วยให้แน่ใจว่าบริษัทจะไม่ต้องอยู่ในโหมดการระดมทุนไปตลอด ซึ่งจะจำกัดความสามารถในการดำเนินการ และต้องไม่ลืมว่า กลยุทธ์และงบประมาณนั้นสามารถสร้างผลกระทบให้กิจการได้มาก

ประสิทธิภาพที่โดดเด่นใน Sector ธุรกิจที่เราอยู่

แม้กิจการของคุณจะต้องเจอข้อจำกัดต่างๆ ก็ตาม คุณจะต้องทำให้องค์กรของคุณโดดเด่นกว่าฝูงชน บางครั้งคุณอาจพยายามจัดสรรงบประมาณกิจการด้วยความรอบคอบมากขึ้น แต่สิ่งที่คุณอาจทำผิดพลาดได้มากที่สุดคือการที่บริษัทมีประสิทธิภาพได้ไม่เต็มที่ เพราะต้นทุนที่ถูกลดลงไป จนส่งผลต่อความสามารถในการดำเนินงานเจ้าของกิจการจำเป็นต้องทำผลงานให้เกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้แต่แรกเพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะได้รับโอกาสที่ดีที่สุดในการลงทุนครั้งต่อไป สตาร์ทอัพของเราจำเป็นต้องโดดเด่นอย่างแท้จริงใน Sector ธุรกิจที่เราอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่านักลงทุนจะให้ความสนใจธุรกิจของเรา

จัดลำดับความสำคัญอย่างจริงจัง

เจ้าของบริษัทจำเป็นต้องดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับแผนรองรับการระดมทุนที่กำลังจะจัดขึ้น คุณจำเป็นต้องวิเคราะห์เพื่อตัดกิจกรรมบริษัทบางอย่างที่อาจไม่เหมาะสมในเวลาเช่นนี้ออกไป แล้วมุ่งเน้นไปยังสิ่งที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ตัวอย่างเช่น การจัดการหนี้สินของกิจการ การเจรจาค่าเช่าและค่าบริการอื่นๆ สามารถช่วยให้คุณกลับมาโฟกัสที่การสร้างแผนเพื่อเตรียมระดมทุนได้ แต่ก็อาจจะสร้างผลกระทบต่อกระแสเงินสดและเครดิตของบริษัทเล็กน้อย ในการขยายรันเวย์บริษัท เจ้าของกิจการจะต้องเริ่มต้นด้วยการจัดลำดับความสำคัญของกลยุทธ์ใหญ่ๆ ที่ขับเคลื่อนงบประมาณ และตัดกลยุทธ์ที่ไม่จำเป็นต่อเป้าหมายการระดมทุนรอบถัดไปออก

การทำตามรายได้เป้าหมาย

เจ้าของกิจการจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเติบโตที่จำเป็นจริงๆ เพราะนักลงทุนจะคอยสังเกตว่าเราทำรายได้จาก Business model ที่ใช้นั้นได้หรือไม่ และตลอดเวลาที่ผ่านมานั้นเราสามารถ Upscale กิจการได้หรือเปล่า

กุญแจสำคัญคือการพิสูจน์ว่า Business model มีประสิทธิภาพจริง ไม่ใช่ต้องอาศัยการเติมกระแสเงินสดระยะสั้นอยู่ตลอด จนเบี่ยงเบนโฟกัสการดำเนินงานไปจากกลยุทธ์ Core business ของตัวเอง เจ้าของกิจการต้องกลับมาโฟกัสที่แกนหลักของธุรกิจ และพิสูจน์ให้ได้ว่าคุณจะสามารถสร้างธุรกิจที่สร้างรายได้ไม่ว่าบริษัทของคุณจะต้องเพิ่มหรือลด Scale ขนาดองค์กรก็ตาม

สร้างแรงจูงใจให้ทีมไปต่อได้

ช่วงเวลานี้อาจเป็นช่วงที่ยากลำบากสำหรับเจ้าของกิจการต่างๆ แต่สิ่งสำคัญคือความกดดันนี้จะต้องไม่ทำให้คนในทีมรู้สึกกดดันและตึงเครียดไปด้วย แม้ว่าพนักงานบางคนอาจถูกเลิกจ้าง แต่ทีมงานในสตาร์ทอัพที่เหลือส่วนใหญ่จะต้องเติบโตต่อไปให้ได้ก่อนระดมทุนรอบต่อไป การรักษาแรงงานฝีมือดีไว้โดยทำให้บรรยากาศในการทำงานดูน่าสนุกและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรเป็นสิ่งสำคัญในช่วงเวลาเช่นนี้

เจ้าของกิจการต้องรักษาบรรยากาศในทีม และกระตุ้นพลังงานบวกให้คนในทีม เพราะถึงอย่างไร เหตุการณ์นี้ก็ยังไม่ใช่จุดจบของทุกอย่าง เจ้าของกิจการต่างๆ ยังคงต้องสร้างกิจการให้ดำเนินต่อไปให้ได้ และความท้าทายจะคงมีอยู่อย่างสม่ำเสมอ

โฟกัสที่การระดมทุน

แม้ว่าการยึดตามเป้าหมายระยะยาวของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญเสมอ แต่นี่เป็นช่วงเวลาที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เป้าหมายที่สำคัญที่สุดในครั้งนี้คือเงินทุนที่เรากำลังจะได้รับ ซึ่งหมายความว่าบางครั้งคุณอาจต้องเปลี่ยนแผนระยะยาวบางแผนกลางคัน เพื่อทำตามเป้าหมายระยะสั้นในกลยุทธ์ใหม่ที่สร้างมาเพื่อการระดมทุน จนกว่าบริษัทจะได้รับเงินทุนเพียงพอ จึงค่อยกลับมาทำตามวิสัยทัศน์ระยะยาวที่มีอยู่เดิมอีกครั้ง

ยุคเศรษฐกิจปัจจุบันนี้ เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างออกไป ซึ่งเจ้าของกิจการจะต้อง Balance เส้นแบ่งระหว่างการเซฟงบประมาณตามแนวคิด Conservative และการสร้างประสิทธิภาพให้องค์กรในเชิง Active ให้ดี กุญแจสำคัญคือการโฟกัส จัดลำดับความสำคัญอย่างจริงจัง และเตรียมพร้อมทีมงานชั้นยอดของคุณให้พร้อมรับกระแสความเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับนวัตกรรมและธุรกิจในอนาคตอยู่เสมอ

อ้างอิงจาก 
8 factors to consider when fundraising during a downturn
Crowdfunding: Basics 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...

Responsive image

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็ก Disney ผันตัวมาเป็น CEO บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็กและนักร้องชื่อดังจาก Disney Channel ล่าสุดเธอผันตัวมาทำ Startup สถานีอวกาศภาคพื้นดินแล้ว...

Responsive image

5 เทคนิคการเขียน Journal ที่ช่วยพัฒนาทักษะของผู้นำ

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 5 แนวทางเพื่อพัฒนาทักษะผู้นำผ่านการเขียน Journal...