สรุป 8 ไฮไลท์สำคัญใน ‘Think Thailand 2019’ งานใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษของ IBM | Techsauce

สรุป 8 ไฮไลท์สำคัญใน ‘Think Thailand 2019’ งานใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษของ IBM

ครั้งแรกของประเทศไทยที่ IBM ได้จัดงานใหญ่รอบทศวรรษ “Think Thailand” ขนทัพเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญระดับโลก ทั้ง AI Blockchain Quantum Security Cloud มาจัดแสดงให้กับคนทั่วไป ลูกค้า และกลุ่มพันธมิตร นับเป็นโซลูชั่นที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนพัฒนาประเทศไทย

คุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า “งาน Think Thailand ถือเป็นงานใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษของ IBM ที่เปิดให้ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสากรรมต่างๆ คนไอที นักเรียน-นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้สัมผัสกับเทคโนโลยีระดับโลกอย่างเอไอ บล็อกเชน ควอนตัม ซิเคียวริตี้ และคลาวด์ ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกธุรกิจและในชีวิตประจำวัน เราพูดถึงดิจิทัลดิสรัปชันมานาน ในงานนี้องค์กรชั้นนำจะมาร่วมแบ่งปันว่าการนำเทคโนโลยีเข้าขับเคลื่อนธุรกิจที่เกิดขึ้นจริงแล้วเป็นอย่างไร” 

นับว่าเป็นการเน้นย้ำบทบาทของ IBM ในการเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในบริบทของการสนับสนุนนโยบายประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น Digital Economy โดยการแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีของ IBM สามารถที่จะนำมาใช้ในการร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า และเตรียมความพร้อมองค์กรไทยสู่ก้าวย่างต่อไปของ Digital Transformation

8-highlights-from-ibm-think-thailand-2019คุณปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีนและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด

8 ไฮไลท์สำคัญในงาน Think Thailand

1. การรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

8-highlights-from-ibm-think-thailand-20198-highlights-from-ibm-think-thailand-20198-highlights-from-ibm-think-thailand-2019IBM ได้นำผู้เชี่ยวชาญระดับโลกมาไว้ที่งานนี้ทั้งผู้บริหารจากภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคการศึกษา รวมทั้งสิ้นกว่า 3,500 คน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มธุรกิจอีกกว่า 12 ภาคอุตสาหกรรม ผนึกกำลังร่วมสร้างนวัตกรรมข้อมูลเชิงลึกและความสมบูรณ์ที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าและพันธมิตรทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเจอร์รี่ คูโอโม บิดาแห่ง IBM Blockchain, เปาโล ซิโรนี นักคิดและผู้แต่งหนังสือด้านฟินเทค, ผู้เชี่ยวชาญด้านควอนตัมคอมพิวติ้งจากศูนย์วิจัย IBM, ดาเมียน วอง ผู้บริหารระดับสูงกลุ่มประเทศอาเซียนและตลาดเกิดใหม่ของเรดแฮต เป็นต้น ที่จะมาถ่ายทอดความเคลื่อนไหวล่าสุดของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกต่างๆ และกรณีศึกษาที่ครอบคลุมหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม

2. โซน Think Playground Showcase

ภายในงาน IBM ได้นำนวัตกรรมมาสาธิตให้เห็นว่าการใช้งานของเทคโนโลยีและการรวมกันของข้อมูล สามารถช่วยองค์กรให้ก้าวต่อไปเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล IBM ได้นำโชว์เคสเทคโนโลยีสุดล้ำที่เปิดให้ผู้เข้าชมงานได้สัมผัสด้วยกัน 6 โซน เจาะลึกหัวข้อมาแรง ประกอบด้วย Data, AI, Business Reinvention, Security, Modern Infrastructure และนำเสนอโซลูชั่นช่วยธุรกิจในการบริหารจัดการ Cloud อีกทั้งยังเปิดให้มีส่วนร่วมในการทดลองใช้เทคโนโลยี อาทิ การสาธิตการนำ Big Data ของธุรกิจมาใช้ในภาคการค้าปลีก โชว์เทคโนโลยีเบื้องหลังรถแข่งฟอร์มูล่าวัน ซึ่งต้องใช้ข้อมูลมหาศาลแบบเรียลไทม์ เกมจำลองสถานการณ์  Cyber Security หุ่นยนต์เอไอสำหรับภาคอุตสาหกรรม ร้านค้าจำลองโชว์การใช้งานเทคโนโลยี โชว์การทำงานของ Quantum computing ไปจนถึงการทำความเข้าใจข้อมูลเชิงลึกแบบเรียลไทม์ด้วยเทคโนโลยี IBM Storage โดยนำเทคโนโลยีมาจัดแสดง 3 ส่วนด้วยกัน ทั้งการสอนหุ่นยนต์ให้เรียนรู้ภาษาท่าทางของมนุษย์โดยไม่ต้องเขียนโปรแกรม, การนำ AI ไปใช้งานด้าน defect detectionในโรงงานโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือนักพัฒนา ก็สามารถสร้าง AI ได้

3. Code@Think Hands-on Labs

งานนี้ไม่ได้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเท่านั้น ยังมี Hands-on Lab สำหรับเหล่านักพัฒนาได้เพิ่มพูนทักษะและความรู้ใหม่ๆ ด้วยการนำเสนอคอร์สเรียนทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ห้องปฏิบัติการที่มีผู้สอนที่เชี่ยวชาญ และการสอบเพื่อ certify การใช้เทคโนโลยีและทักษะด้านต่างๆ เพื่อโอกาสก้าวหน้าในวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นการทำความเข้าใจวิวัฒนาการของ AI และ Data Science ทั้งการแนะนำ Watson Studio, Auto AI, ความรู้เชิงลึกด้าน Ppen source integration และ Deep learning, Machine learning, Artificial intelligence อีกทั้งยังมีแล็บที่เปิดให้เรียนรู้เรื่อง AI Data และ Cloud พร้อมสอนออกแบบระบบและการใช้งาน สำหรับเหล่า Software Developer, Architects และ Data Developer โดยเฉพาะ

5. ประกาศเปิดตัวความร่วมมือโครงการ P-TECH ในการนำเทคโนโลยีเข้าสนับสนุนภาคการศึกษา

IBM ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บมจ.เอไอเอส บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดตัวความร่วมมือในโครงการพีเทค (P-TECH: Pathway in Technology Early College High School) โปรแกรมการเรียน 5 ปี สร้างบุคลากรรองรับตำแหน่งที่ไม่จำเป็นต้องมีปริญญา ในการศึกษาระดับอาชีวะ เน้นเรื่องของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ โดยเมื่อจบหลักสูตร นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะมีโอกาสในการได้รับการพิจารณาเข้าทำงานเป็นอันดับแรกๆ กับไอบีเอ็ม เอไอเอส ไมเนอร์ และพันธมิตรภาคธุรกิจที่เข้าร่วมโครงการ

6. ความร่วมมือกับกรมศุลกากรใช้บล็อกเชนช่วยในการนำเข้าสินค้าทางเรือ

การประกาศความร่วมมือระหว่าง IBM กรมศุลกากร และเมอส์ก (Maersk) บริษัทด้านขนส่งทางเรือรายใหญ่ของโลก นำแพลตฟอร์ม TradeLens (เทรดเลนส์) ที่พัฒนาขึ้นบนเทคโนโลยี IBM Blockchain มาใช้ใน track การส่งสินค้าทางเรือ เพื่อพัฒนาการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยเทคโนโลยีจะช่วยลดงานเจ้าหน้าที่ ช่วยให้สามารถตรวจสอบสินค้าต้องห้าม รวมถึงจัดเก็บภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแพลตฟอร์มดังกล่าว ทำให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานราชการลำดับที่สองในประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับที่สามในประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิกที่เทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้

7. ความร่วมมือด้าน Cybercrime กับกลุ่มสามารถ

Cybersecurity เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทาง IBM ได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ตัวแปรสำคัญมาจากการทำ Digital Transformation ขององค์กรต่างๆ ซึ่งภัยคุกคามทางไซเบอร์นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์กรภาครัฐและเอกชน ยังอาจสร้างความเสียหายในทางเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยอีกด้วย โดยภายในงานนอกจากจะมีการจำลองสถานการณ์การโจมตีภัยคุกคามไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ แล้ว IBM ยังได้ประกาสความร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ซีเคียวอินโฟ ของ “กลุ่มสามารถ” ในการนำเทคโนโลยี AI มาช่วยในการป้องกันและลดผลกระทบที่จะเกิดจากการโจมตีข้อมูลในโลกไซเบอร์ ผ่าน Cognitive Security Operation Center หรือ CSOC แบบครบวงจรเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

8. ความร่วมมือกับธนาคารกรุงศรีอยุธยา

ความร่วมมือกับธนาคารกรุงศรีอยุธยาในการพัฒนาระบบงานด้านไอทีให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก คุณฐากร ปิยะพันธ์ ผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงค์กิงและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มองว่าบทบาทของธนาคารจะเปลี่ยนไป จะเป็นผู้ให้บริการรูปแบบใหม่ที่พร้อมให้ลูกค้าสามารถเข้ามาใช้งานได้ตลอดเวลา โดยจะเน้นเรื่องความร่วมมืออย่างใกล้ชิด ธุรกิจจะมีการปรับตัวไปเรื่อยๆ ให้สอดรับกับทั้งเทคโนโลยีและความต้องการของลูกค้า

นับว่าเป็นการเน้นย้ำบทบาทของ IBM ในการเข้ามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในการร่วมผลักดันประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า รวมทั้งการบริหารจัดการ เพื่อการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้บริโภคในอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้เพื่อเป็นการช่วยพาธุรกิจและองค์กรเข้าสู่ก้าวย่างต่อไปของ Digital Transformation ได้อย่างสำเร็จ


Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...