Net Zero ถือเป็น Priority หลักของแทบทุกประเทศ และนาทีนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการดำเนินการระดับโลก ต่างมุ่งเน้นที่จะต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งได้กระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะบรรลุ "เป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์" หรือ "Net Zero"
จากข้อมูล Systems Change Lab โดย World Resources Institute บ่งชี้ว่า ในปี 2019 ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 จนทำให้เศรษฐกิจโลกต้องหยุดชะงัก ทั่วโลกได้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (GtCO2e) ถึง 58.5 กิกะตัน และในปัจจุบันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาที่ 190 ประเทศได้ยอมรับข้อตกลงปารีสในปี 2015
ส่งผลให้หลายประเทศพัฒนาแผนดำเนินการระยะยาว เพื่อลดการปล่อยคาร์บอนในภาคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาคพลังงาน ไฟฟ้าและความร้อน อุตสาหกรรม การขนส่ง และการเกษตร
ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปรู้จักกับ 8 ประเทศ ที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จในการ "ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์" ซึ่งถือเป็นประเทศต้นแบบที่จะฉายภาพให้นานาประเทศได้เห็นว่ากลไกการดำเนินงานสำคัญเป็นอย่างไร ไฉนบรรดา 8 ประเทศเหล่านี้จึงสามารถบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero ได้ ?
ถูกเรียกว่าเป็นประเทศที่มีความสุขที่สุดในโลก โดยประเทศยึด 4 เสาหลัก คือ 1.การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแบบยั่งยืน 2.การส่งเสริมและรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม 3.การให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์แวดล้อม และ 4.การบริหารอย่างมีธรรมาภิบาล
โดยเป็นประเทศที่ “ไม่เพียงแค่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็น 0...แต่ติดลบ...” ซึ่งมีสีเขียวทั้งประเทศ” ที่นี่มีป่าปกคลุม 72% ของพื้นที่ประเทศ โดยรัฐธรรมนูญกำหนดว่าประเทศจะต้องมีพื้นที่ป่าไม่น้อยกว่า 60% ของพื้นที่ประเทศตลอดเวลา ทั้งนี้มีการปล่อยคาร์บอนเพียงปีละ 1.5 ล้านตัน แต่พื้นที่ป่าสามารถดูดคาร์บอนได้ถึงปีละ 6 ล้านตัน ต้นไม้เหล่านี้จึงทำหน้าที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่าที่ชาวภูฏานปล่อยหลายเท่าตัว
ทั้งนี้ภูฏานพัฒนาประเทศภายใต้กรอบการสร้าง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ GNH (Gross National Happiness) เป็นสำคัญเหนือ “ผลิตภัณฑ์มวลรวม” หรือ GDP โดยใช้ 4 หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนดังข้างต้น และมี 9 แนวทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาในแบบฉบับ “ภูฎาน โมเดล” (4 Pillars and 9 Domains)
หมู่เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย บริเวณทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก ประชากร 800,000 คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นตามชายฝั่ง ด้วยอัตราส่วน 400 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร
หมู่เกาะภูเขาไฟขนาดเล็กแห่งนี้ตั้งอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย นอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา ทางตอนเหนือของมาดากัสการ์ เป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยมีประชากร เพียง 800,000 คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในแถบชายฝั่ง มีการปล่อยมลพิษต่ำจากการเกษตร การประมง และการเลี้ยงปศุสัตว์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจทั้งประเทศ ประกอบกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดเกือบหนึ่งในสี่ของผืนดิน ช่วยสนับสนุนสถานะการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
หนึ่งในหกประเทศที่ตั้งอยู่ในป่าฝนคองตามแนวเส้นศูนย์สูตรในแอฟริกากลาง พื้นที่กว่า 88% เนื่องจากความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการไม่ตัดไม้ทำลายป่าและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กาบองตั้งอยู่ในลุ่มน้ำคองโกซึ่งเป็นหนึ่งใน 'แหล่งกักเก็บคาร์บอน' ที่ใหญ่ที่สุดในโลก กาบองปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อย ครั้งหนึ่ง UN จึงยกให้ประเทศกาบองเป็นต้นแบบของการอนุรักษ์ด้านสิ่งแวดล้อม
กายอานาเป็นอีกประเทศที่อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ ล้อมรอบด้วยป่าฝนอเมซอน หลังจากบรรลุการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์แล้ว ประเทศนี้มีเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซลงอีก 70% ภายในปี 2030
อย่างไรก็ตาม กายอานาเองได้กลายเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหม่ของโลกในปี 2019 ซึ่งนับว่ามีความท้าทายมากขึ้นในฐานะผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต
เกาะมาดากัสการ์ล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันออกของแอฟริกา พึ่งพาการเกษตรและการประมงซึ่งเป็นผลผลิตทางเศรษฐกิจหลัก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ แต่ก็มีการตัดไม้ทำลายป่าขนาดใหญ่ ทำให้หนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าของทั้งประเทศหายไปตั้งแต่ปี 2000 ตามรายงานของ Global Forest Watch
นอกจากนี้ หากอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในปัจจุบันยังคงดำเนินต่อไป มาดากัสการ์จะกลายเป็นประเทศผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิภายในปี 2030
นีวเวเป็นเกาะปะการังเล็กๆ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ และเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรในท้องถิ่นราว 2,000 คน และยังมีประชากรอีกเป็นจำนวนมากที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ มีส่วนปล่อยมลพิษน้อยกว่า 0.0001% เมื่อเทียบกับการปล่อยมลพิษทั้งโลก
โดยส่วนใหญ่ประชาชนประกอบอาชีพ การประมง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลัก อย่างไรก็ตาม ด้วยตำแหน่งที่ตั้งของเกาะนีวเวมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ความเป็นกรดของมหาสมุทร และพายุไซโคลน ตัวอย่างเช่น เดือนมกราคม ปี 2004 เมืองหลวงของนีวเวได้ถูกทำลายโดยพายุไซโคลนเฮตะ ระดับ 5
จากการประชุม COP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ปานามาได้ร่วมมือกับประเทศซูรินาม (ซูรินาเม) หรือสาธารณรัฐซูรินาม (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ดัตช์เกียนา) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ติดกับประเทศกายอานา บราซิล และเฟรนช์เกียนา (จังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) และภูฏาน (Bhutan) ในการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรที่มีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นลบ (Carbon-Negative) โดยได้เรียกร้องให้มีการสนับสนุนทางการค้า การกำหนดราคาคาร์บอน และการค้าขายคาร์บอนเครดิตอย่างเป็นธรรม และกระตุ้นให้หลายประเทศมาร่วมสร้างแหล่งดูดซับคาร์บอนทางธรรมชาติไปด้วยกัน เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero
ด้วยจำนวนประชากร 4.5 ล้านคน พื้นที่ประมาณ 65% ของพื้นที่ปานามาถูกปกคลุมด้วยป่าฝน และรัฐบาลมีแผนที่จะปลูกป่าในพื้นที่ 50,000 เฮกตาร์ ภายในปี 2050 เพื่อเพิ่มความสามารถในการเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน (Carbon Sink)
ซูรินาม (ซูรินาเม) หรือสาธารณรัฐซูรินาม (ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ดัตช์เกียนา) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ติดกับประเทศกายอานา บราซิล และเฟรนช์เกียนา (จังหวัดโพ้นทะเลของประเทศฝรั่งเศส) ซูรินามเป็นประเทศขนาดเล็ก มีเนื้อที่ประมาณ 163,820 ตารางกิโลเมตร โดยภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าดิบชื้นและเนินเขา ส่วนแถบชายฝั่งมีพื้นที่ราบลุ่มและหนองน้ำ ปัจจุบัน ประเทศซูรินามมีประชากรอยู่ประมาณ 586,634 คน
ถึงแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ซูรินามก็เป็นประเทศ carbon negative มาตั้งแต่ปี 2014 โดยซูรินามเป็นหนึ่งในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยมีป่าไม้ปกคลุมถึง 93% ของพื้นที่ทั้งหมด ทำให้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนชั้นเลิศ ที่มีส่วนในการดูดซับคาร์บอนกว่าหลายล้านตันทุกปี ในระหว่างที่ซูรินามมีการปล่อยคาร์บอนเพียง 0.01% ของสัดส่วนการปล่อยทั่วโลก
อีกทั้งยังมีเป้าหมายให้พลังงานกว่า 35% มาจากแหล่งพลังงานสะอาดภายในปี 2030 นอกจากนี้ ซูรินามยังตั้งใจที่จะพัฒนาแนวทางสำหรับการทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนภายใต้ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากภาคเกษตรกรรมเป็นภาคส่วนที่นำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก แต่ก็เป็นภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมามากถึง 40% และสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งนำไปสู่การสร้างความร่วมมือด้านคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยรักษาระบบนิเวศของป่าไม้
รวบรวมข้อมูลจาก World Economic Forum, Environman
Sign in to read unlimited free articles