7 Tips ช่วยให้พูดคุยเรื่องที่เห็นต่างอย่างราบรื่นและเข้าใจกัน | Techsauce

7 Tips ช่วยให้พูดคุยเรื่องที่เห็นต่างอย่างราบรื่นและเข้าใจกัน

‘เห็นต่าง’ เป็นเรื่องปกติของสังคม ยิ่งคนในสังคมมีความหลากหลายมากเท่าไหร่ ความคิดเห็นก็มีมากขึ้นเท่านั้น และล้วนแตกต่างกันไปตามพื้นเพ การเลี้ยงดู การศึกษา ขนบธรรมเนียม หรือช่วงอายุ ซึ่งการพูดคุยกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ย่อมทำให้รู้สึกไม่สบายใจและอาจนำมาสู่การทะเลาะ

จะยิ่งเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราเป็นคนส่วนน้อยหรือเป็นผู้น้อยที่คิดเห็นแตกต่างออกไป เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาทั้งในที่ทำงาน โรงเรียน หรือแม้แต่ภายในครอบครัว คนบางส่วนเลือกที่จะไม่พูดเพื่อหลีกเลี่ยงการมีปากเสียง แต่ถ้าเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องพูด จะต้องพูดคุยอย่างไรให้เข้าใจและหลีกเลี่ยงการทะเลาะ

บทความนี้ของ Techsauce จะพาไปรู้จักกับ 7 Tips ที่ช่วยให้คุณพูดคุยในเรื่องที่เห็นต่างได้อย่างราบรื่น และเข้าใจกันทั้ง 2 ฝ่าย

1. เริ่มต้นบทสนทนาด้วยความเป็นกลาง

เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เมื่อต้องพูดคุยกันในประเด็นที่ต่างฝ่ายต่างมีความเห็นที่แตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการสงบสติอารมณ์ หลีกเลี่ยงการพูดข่ม และเริ่มต้นบทสนทนาด้วยความเป็นกลางและเปิดใจ การทำแบบนี้จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็นแก่ทั้ง 2 ฝ่าย

อาจจะเริ่มจากการคำถามง่าย ๆ ที่ทำให้คุณเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายโดยที่ไม่ทำให้พวกเขาไม่พอใจ เช่น ช่วยอธิบายให้เข้าใจหน่อยได้ไหม ทำไมถึงคิดแบบนั้น การแสดงออกว่าเคารพในความเห็นของอีกฝ่าย ทำให้พวกเขากล้าที่จะแบ่งปันความคิดเห็นกับคุณ ซึ่งช่วยให้คุณเข้าใจถึงมุมมองของกันและกันได้มากขึ้น

2. แสดงออกให้เห็นถึงความเข้าใจ

เมื่อเริ่มพูดคุยถึงประเด็นที่เห็นต่างกัน การแสดงออกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าเราก็เข้าใจในมุมมองของเขา แทนที่จะตัดสินทันทีว่าพวกเขาผิดและเราไม่เห็นด้วย หลังจากนั้นจึงเริ่มอธิบายในมุมมองของคุณ ว่าทำไมคุณถึงไม่เห็นด้วยกับความคิดเหล่านั้น จะช่วยหลีกเลี่ยงการทะเลาะและมีปากเสียงของทั้ง 2 ฝ่ายได้

ข้อดีของการทำความเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายและแสดงออกให้พวกเขาเห็น ทำให้ทั้งคุณและเขาโฟกัสไปที่ประเด็นปัญหาและการแก้ไข มากกว่าการพูดถกเถียงเพื่อเอาชนะกัน 

3. มองหาจุดร่วมที่เห็นตรงกัน

เป้าหมายของการพูดคุย คือ เพื่อทำความเข้าใจซึ่งกันและกัน รวมถึงเรียนรู้จากกันและกัน ไม่ใช่เพื่อทะเลาะถกเถียงและพิสูจน์ว่าใครถูกหรือใครผิด ดังนั้นแทนที่จะมองไปในจุดที่คุณไม่เห็นด้วย ลองเปลี่ยนมาหาจุดที่คุณเห็นไปในทำนองเดียวกันแทน

เมื่อรับฟังและทำความเข้าใจในความเห็นของอีกฝ่ายและได้อธิบายถึงความเห็นของตัวเองแล้ว การที่ทั้ง 2 ฝ่ายเปลี่ยนมามองหาสิ่งที่เห็นพ้องต้องกันในประเด็นที่ขัดแย้ง อาจช่วยให้คุณทั้งคู่พบกับทางออกที่เหมาะและพอใจกับทุกฝ่าย

4. รับฟังให้มาก โต้เถียงให้น้อย

“เมื่อมีคนพูด จะต้องมีคนฟัง” มันคงไม่เรียกว่าการพูดคุยถ้าหากมีเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้พูดและแสดงความคิดเห็นอยู่ข้างเดียว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือ ทั้ง 2 ฝ่ายควรมีโอกาสได้พูดและแบ่งปันมุมมองของกันและกัน เหมือนผลัดกันพูดผลัดกันฟัง ยิ่งรับฟังได้มากเท่าไหร่ก็ยิ่งเข้าใจมุมมองของอีกฝ่ายมากขึ้นเท่านั้น 

เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้เริ่มต้นพูด หลังจากนั้นค่อยแสดงความเห็นของคุณ และหยุดเพื่อให้อีกฝ่ายได้แสดงความเห็นบ้าง การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้คุณได้ฟังความเห็นของอีกฝ่ายแล้ว ยังทำให้มีเวลาคิดใช้เหตุผลหากมีสิ่งที่ต้องการโต้แย้ง 

5. ไม่ใช้คำว่า ‘แต่’ เพื่อโต้แย้ง

การใช้คำว่า ‘แต่’ เพื่อโต้แย้ง มักให้อารมณ์ความรู้สึกไปในทางลบ เหมือนเป็นการปิดกั้นแทนที่จะเปิดกว้างและรับฟัง ซึ่งอาจทำให้ผู้ฟังรู้สึกเสียอารมณ์ไปด้วย ดังนั้นการเลือกใช้คำพูดก็เป็นเรื่องที่จำเป็น คุณอาจจะเปลี่ยนมาใช้คำว่า 'นอกจากนี้แล้ว' หรือเปลี่ยนมาเป็นการถามกลับไปแทน เช่น ทำไมถึงคิดแบบนั้น, อะไรที่ทำให้คิดแบบนั้น เป็นต้น

6. เล่าให้เห็นภาพ ยกตัวอย่างให้ชัดเจน

เมื่อกำลังพูดคุยถึงเรื่องที่มีความคิดเห็นต่างกัน การอธิบายให้อีกฝ่ายเข้าใจถึงแนวคิดและมุมมองของเราด้วยการยกตัวอย่างสถานการณ์ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะช่วยให้ทุกคนเข้าใจภาพรวมของปัญหาและเหตุผลของคุณมากขึ้น เช่น ปัญหาในที่ทำงานอย่างการที่แผนกของคุณมีคนไม่พอ แต่ก็ไม่มีการจัดสรรคนมาช่วยงานสักที

แทนที่คุณจะพูดว่า “แผนกของเราไม่เคยได้รับสิ่งที่ต้องการเลย” คุณอาจจะเปลี่ยนเป็นยกตัวอย่างสถานการณ์ที่ผ่านมาว่าทำไมคุณต้องการคนมาช่วย เช่น “เมื่อเดือนที่แล้วเราขายงานให้ลูกค้าได้มากขึ้น การมีคนเข้ามาช่วยประสานงานจะทำให้งานเดินเร็วขึ้น” การทำแบบนี้นอกจากจะทำให้อีกฝ่ายเข้าใจมุมมองของคุณแล้ว ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดูมีวุฒิภาวะให้คุณอีกด้วย

7. หลีกเลี่ยงการปลุกปั่นให้เกิดการทะเลาะวิวาท

อย่าลืมว่าเป้าหมายหลักของการพูดคุยในประเด็นที่เห็นต่าง คือการทำความเข้าใจทุกฝ่ายและหาทางออกร่วมกัน ดังนั้นการพยายามยั่วยุหรือสร้างความขัดแย้งจึงเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งคำพูดและพฤติกรรมที่รุนแรง ถึงแม้จะทำให้ผู้คนเริ่มสนใจถึงประเด็นของคุณ แต่อาจนำไปสู่ความเข้าใจประเด็นนั้นได้ยากนั่นเอง ทางที่ดีคือการสื่อสารด้วยเหตุผลและพยายามทำความเข้าใจในมุมมองอื่น ๆ ร่วมด้วย

อ้างอิง: nbcnews

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เทียบสวัสดิการหญิง ไทยสู้ใครได้บ้าง?

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามาดูว่าการต่อสู้กว่า 1 ศตวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ‘สิทธิสตรี’ และสวัสดิการหญิงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก้าวหน้าไปถึงไหนแล้ว...

Responsive image

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็ก Disney ผันตัวมาเป็น CEO บริษัทเทคโนโลยีอวกาศ

Bridgit Mendler อดีตดาราเด็กและนักร้องชื่อดังจาก Disney Channel ล่าสุดเธอผันตัวมาทำ Startup สถานีอวกาศภาคพื้นดินแล้ว...

Responsive image

5 เทคนิคการเขียน Journal ที่ช่วยพัฒนาทักษะของผู้นำ

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 5 แนวทางเพื่อพัฒนาทักษะผู้นำผ่านการเขียน Journal...