Startup 101: ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า 5 คำแนะนำสำหรับ Startup | Techsauce

Startup 101: ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า 5 คำแนะนำสำหรับ Startup

หลังจากผ่านช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ หรือเมื่อบริษัทต้องปรับเพิ่มขนาดเพื่อการเจริญเติบโต หนึ่งในสิ่งที่เหล่า Startup ต้องเจอ หรือเคยเจอ คือเรื่องของการจัดการทรัพยากรบุคคล ต้องรับสมัครพนักงานแบบไหน สร้างความสัมพันธ์ในองค์กรอย่างไร ทำอย่างไรพนักงานถึงจะมีความกระตือรือร้น อยู่กับบริษัทไปนาน และที่สำคัญคือเราควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร

ดูแลพนักงาน เหมือนที่เราดูแลลูกค้า

Insight และการตอบสนองความต้องการ คือ เรื่องพื้นฐานที่มีความสำคัญมากที่สุด

การทำงานของ Startup มักเริ่มต้นด้วย “Passion” แต่เมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อมีคนไหลเข้ามา สิ่งที่เคยชัดเจนอาจจะเลือนลาง สิ่งที่เคยเข้าใจ อาจจะกลายเป็นเรื่องที่ขัดใจ

ค้นหาวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน

Aon Hewitt บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้ให้คำแนะนำว่า เมื่อ Startup มีพนักงานครบ 7 คน ควรประชุมเพื่อหาวิธีการทำงานร่วมกัน

Startup เริ่มต้นการทำงานด้วย “Passion” หรือความเชื่อดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำคือการหาจุดร่วมของสิ่งเหล่านั้นให้เจอ ไม่ว่าจะเป็นความชอบ รูปแบบและเป้าหมายในการทำงาน ความมุ่งหวัง หรือสิ่งที่แต่ละคนให้ความสำคัญ

จุดร่วมไม่จำเป็นต้องมีเยอะ แต่ขอให้อธิบายจนเห็นภาพและสามารถนำไปปฏิบัติได้ สิ่งนี้แหละที่จะกลายมาเป็นวัฒนธรรมองค์กรหรือกฎเกณฑ์ที่เราใช้ในการทำงานร่วมกัน เป็นสิ่งที่ดึงดูดให้คนสนใจมาสมัครงาน เป็นเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือก พัฒนา ประเมิน และเชิญออก

เมื่อมีพนักงานมากขึ้น บริษัทจะทำการค้นหาวัฒนธรรมองค์กรใหม่อีกครั้งหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ต่อเป้าหมายในอนาคตที่วางไว้ หรือการวางแผนรองรับการเติบโตของบริษัท เมื่อทำการค้นหาครั้งแรก

วัฒนธรรมองค์กรควรเป็นสิ่งที่เราทำเพื่อปัจจุบันและอนาคตโดยไม่เน้นผลลัพธ์ที่เป็นตัวเลข

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาวัฒนธรรมขององค์กรให้คงอยู่คือหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัท ที่จะต้องหมั่นสังเกต สื่อสาร และ Feedback กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจากจุดร่วม รวมถึงลงมือจัดการเมื่อเริ่มเห็นเค้าโครงของปัญหาที่กำลังจะเกิด

Employee’s Journey

การดูแลและตอบสนองความต้องการของพนักงาน ไม่ใช่แค่ช่วงที่เขาเข้ามาทำงานกับเรา แต่มันคือการสร้างความประทับใจตั้งแต่การทำความรู้จัก ไปจนถึงการจากลา

เมื่อเรารู้จักตัวตนของลูกค้ามาก เราก็จะเข้าถึงลูกค้าได้มาก และขายของได้มาก เช่นเดียวกัน หากเราสามารถระบุตัวตนของพนักงานที่เราต้องการร่วมงานได้อย่างชัดเจน เราก็จะหาเขาเจอได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ไม่เสียทั้งเวลาและโอกาสของทุกฝ่าย

ระบุ Persona ของคนที่เราต้องการร่วมงานให้ได้อย่างชัดเจน ต้องการคนลักษณะไหน มีทัศนคติอย่างไร มีความมุ่งหวังอย่างไร มีความสามารถและมีกระบวนการในการทำงานอย่างไร รวมถึงอะไรคือจุดสำคัญที่จะทำให้เราได้รู้ว่านี่แหละคือคนที่ใช่

ยกตัวอย่างเช่น การสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อดูปฏิกิริยาการตอบสนองของผู้สมัคร การถามคำถาม การเปิดโอกาสให้ถาม การทำแบบฝึกหัด การเล่นเกม หรืออะไรก็ตาม ที่สามารถช่วยกรองให้เราได้ว่าคนนี้มีคุณลักษณะเดียวกับคนในองค์กร

การรักษาความสัมพันธ์

นอกจากวัฒนธรรมองค์กรแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้ทีมอยู่ด้วยกันไปนาน คือการรักษาความสัมพันธ์” .. คำง่าย ที่มีหลายล้านวิธี

ลักษณะเบื้องต้นที่สามารถใช้ตรวจสอบความสัมพันธ์ในองค์กรได้แก่ กาย วาจา และใจ ของพนักงาน พนักงานพูดถึงบริษัทในทางที่ดีอยู่เสมอ ทุ่มเทให้องค์กรมากกว่าที่คาดหวัง และยังเลือกที่จะอยู่แม้ว่าจะมีข้อเสนอที่ดีกว่า

รวมไปถึงบทบาทของผู้นำที่ควรจะทำให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่า เขามีความหมายต่อองค์กร มีโอกาสเติบโต มีความเชื่อมั่นในตัวองค์กร รวมไปถึงความรู้สึกที่ว่าผู้นำอยู่เคียงข้างพวกเขาเสมอ เพราะความสุข โอกาส การเงิน และการสนับสนุน คือสิ่งที่พนักงานส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ

โปรโมชั่นลด แลก แจก แถม

สิ่งหนึ่งที่สามารถสร้างเสน่ห์ให้องค์กรได้คือสวัสดิการหรือรางวัลที่พนักงานจะได้รับ ไม่จำเป็นต้องมีครบเหมือนองค์กรอื่นใด ขอให้สามารถตอบสนองความต้องการ จำเป็น ของพนักงานได้ก็เป็นพอ

เช่น ลดรายจ่ายของพนักงานด้วยการเลี้ยงอาหารกลางวัน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้พนักงานประหยัดได้แล้ว ยังเปิดโอกาสให้พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ลดเวลาเดินทาง เพิ่มเวลาพักผ่อน และเสริมสร้างการทำงานเป็นทีม

หรือจะเป็นเงินสนับสนุนกิจกรรมเพื่อการผ่อนคลาย สวัสดิการดูแลสุขภาพให้คนในครอบครัว เปลี่ยนโอทีเป็นวันหยุด หรือสิทธิ์ลาหยุดในวันเกิด .. อะไรก็ได้ที่คนเป็นพนักงานส่วนใหญ่ต้องการ

สวัสดิการที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างน่าสนใจ และไม่เหมือนใคร เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่สามารถทำให้พนักงานตัดสินใจอยู่กับองค์กรระยะยาว

การสื่อสาร

จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเรื่องของการสื่อสาร ยิ่งพนักงานเยอะ ผู้นำยิ่งต้องสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะกับพนักงานที่มาก่อนการเปลี่ยนแปลง

สุดท้ายจำไว้เสมอว่า Startup เริ่มด้วย Passion ทำยังไงก็ได้ให้คนที่เข้ามาใหม่และคนที่ยังอยู่มี Passion เหมือนกัน เพราะหากผลิตภัณฑ์และบริการดี แต่พื้นฐานคนไม่แน่น ก็ไปต่อได้ยาก

--------------------------------------------------------------------

สรุปเนื้อหา​: ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์การสร้างวัฒนธรรมองค์กร โดย Aon Hewitt Thailand โดย คุณภาณุวัฒน์เบ็ญเราะมาน ซึ่งเป็นหัวข้อภายใต้โครงการ The Future of Startup โครงการที่คัดเลือกวิสาหกิจเริ่มต้นที่มีความพร้อมในการเติบโต (Startup) และต้องการคําปรึกษาในการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อประกอบธุรกิจ โดยเรียนเชิญบุคคลกรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ให้มีความเข้าใจในธุรกิจ การตลาด การบริหารจัดการและกฎหมาย ผ่านการจัดการฝึกอบรม ให้คําปรึกษาและถ่ายทอดประสบการณ์และต่อยอดจนไปถึงการจับคู่ทางธุรกิจเพื่อยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ให้แข็งแกร่งและพร้อมพัฒนาไปสู่การยืนหยัดในระดับโลก และสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สําคัญในการขับเคลื่อนประเทศต่อไปโดยมีหลายหน่วยงานในการร่วมกันสนับสนุน

และในวันที่ 19 สิงหาคม 2561 ณ ตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย จะมีงานสัมมนาพิเศษ The Future of Startup อนาคต Startup ไทย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสำรองที่นั่งด่วนได้ที่นี่

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เช็คจุดน้ำท่วมเรียลไทม์ ผ่านแอปฯ BMA Traffic น้ำท่วม-รถติด-อุบัติเหตุ ดูได้หมด

BMA Traffic เป็นแอปพลิเคชันที่เราสามารถดูระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่ติดตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถสำรวจพื้นที่น้ำท่วมหรือรถติดผ่านแอปฯ ได้ทันที...

Responsive image

เส้นทางของ Kakao จากสตาร์ทอัพสู่หนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลแถวหน้าในอุตสาหกรรมบันเทิง

สตาร์ทอัพที่เริ่มต้นด้วยคนเพียง 2 คน สู่อาณาจักรไอทียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ บทความนี้ Techsauce จะชวนดูความสำเร็จของ ‘Kakao’ บริษัทที่มีมูลค่าตลาดสูงถึง 24.7 ล้านล้านวอน หรือราว 6.7 ...

Responsive image

2024 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยต้องโฟกัสอะไร? รู้จักกลยุทธ์ 2C โอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เจาะปัจจัยหลักที่นักการตลาดดิจิทัลต้องรู้

บทความนี้ Techsauce จึงจะพามารู้จักกับ 2 กุญแจชิ้นสำคัญอย่าง Content & Convenience ที่กุมชะตาธุรกิจอีคอมเมิร์ซไทยในยุคดิจิทัล...