เทรนด์ย้ายงานในวัย 40+ กำลังมา ตัวช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น | Techsauce

เทรนด์ย้ายงานในวัย 40+ กำลังมา ตัวช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น

Nikkei Asia เปิดเผยว่า ในช่วง 5 ปีมานี้ พนักงานในวัย 40 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนงาน (Job Hopping) เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในญี่ปุ่น ซึ่งนับเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ว่าจ้าง เพราะจากผลวิจัย ผู้ประกอบการต่างๆ นั้นต้องการคนที่มีประสบการณ์ การที่คนในวัยกลางคนกล้าย้ายงานจะช่วยสร้างการหมุนเวียน Skilled worker ระหว่างองค์กรได้ ช่วยให้องค์กรเติบโตหลังจากช่วง COVID-19

เป็นที่ทราบกันดีว่า ญี่ปุ่นนั้นเข้าสู่สังคมที่มีโครงสร้างผู้สูงอายุเป็นหลัก (Silver Age Economy) มานานแล้ว ซึ่งในตอนแรกนั้นเป็นที่กังวลว่า ผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นสวนทางกับอัตราการเกิดที่ต่ำลงในญี่ปุ่นจะสร้างปัญหาให้ระบบเศรษฐกิจ

แต่หลังจากที่ญี่ปุ่นมีการอนุมัติการขยายเวลาเกษียณอายุลูกจ้างจาก 65 ปีเป็น 70 ปี ทำให้ในเชิงปฏิบัติ ผู้สูงวัยหรือพนักงานในวัยกลางคนของญี่ปุ่น รู้สึกยินดีที่ยังได้ทำงาน และมีคุณค่าที่เกิดจากความรู้สึกว่า ตนเองนั้นยังสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรได้ 

แนวคิดการยึดติดกับที่ทำงานเดิมกำลังเปลี่ยนแปลง

ถึงแม้ว่าการได้ทำงานในวัยใกล้เกษียณจะช่วยให้พนักงานชื่นชอบการทำงาน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ยึดติดว่าจะต้องอยู่กับองค์กรเดิมไปตลอด สาเหตุที่ผู้สูงวัยกล้าย้ายงาน แม้จะอยู่ในช่วงอายุมากกว่า 40 แล้วก็ตามนั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบริษัทในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลิกแนวคิดการจ้างงานตลอดชีพและเลื่อนตำแหน่งตามระดับอาวุโส (Seniority) แล้ว

โดยดั้งเดิมนั้น พออายุ 35 ขึ้นไป จะถือว่าเป็นช่วงวัยที่เปลี่ยนสายอาชีพได้ยาก เพราะในญี่ปุ่น นั้นจะมีระบบอาวุโสที่เป็นที่ขึ้นชื่อ ซึ่งให้ความสำคัญในลำดับงานตามวัยวุฒิอย่างเข้มข้น โดยผู้ที่อยู่ในสายงานมาอย่างยาวนาน จะได้รับการเลื่อนขั้นจนเป็นหัวหน้างานหรือผู้จัดการแล้ว จึงไม่ค่อยนิยมเปลี่ยนงานกันในวัยนี้ ซึ่งแนวคิดนี้กำลังค่อยๆ เสื่อมความนิยมลง

สมาคมจัดหางานและค้นหาผู้บริหารแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Executive Search and Recruitment Association) ระบุว่า พนักงานสูงอายุราว 10,000 คน หางานใหม่ผ่านหน่วยงานจัดหางาน 3 แห่งในช่วงปี 2020 เพิ่มขึ้น 1.9 เท่า โดยเทียบจาก 5 ปีก่อนหน้า ซึ่งกลุ่มคนอายุระหว่าง 40 ถึง 50 ปี เป็นวัยที่เปลี่ยนงานมากที่สุด

เปอร์เซ็นต์รายได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในสาขางานต่างๆ Cr. Nikkei Asia

แรงงานในวัยใกล้เกษียณ ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ และลดการว่างงานในญี่ปุ่น

จำนวนคนสูงวัยที่เปลี่ยนงานมากขึ้นนี้ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะ บริษัทต่างๆ กำลังเร่งการเปลี่ยนโครงสร้าง หรือ Restructure บริษัท โดยมองว่า องค์กรจะสามารถอาศัยทักษะจากพนักงานที่มีประสบการณ์ระยะยาวได้ โดยเฉพาะในการตัดสินใจเฉพาะด้าน จากสาขางานที่ต้องการความเชียวชาญโดยเฉพาะ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานมานานกว่า จะสามารถตัดสินใจได้ดี และสร้างผลลัพธ์การทำงานที่ดีกว่า

ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานโดยรวมของญี่ปุ่นได้ลดน้อยลง เนื่องจากมีการสรรหาบุคลากรอย่างต่อเนื่องโดย Startup และบริษัทที่จัดตั้งใหม่ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเคลื่อนย้ายงานมากขึ้นในหมู่พนักงานวัยกลางคนสามารถช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผ่านจุดพีคของช่วงการระบาด Covid มาแล้ว

“สิ่งที่ทำให้ผู้สูงวัยมีความน่าสนใจคือ ประสบการณ์และทัศนคติที่ยึดมั่นต่อการทำงาน” Akisaburo Ikushima, founder และ CEO ของ Globee ซึ่งนำเสนอสื่อการเรียนรู้ที่ใช้ AI สำหรับการศึกษาภาษาอังกฤษกล่าว

สิ่งสำคัญคือ พนักงานในวัยกลางคน จำเป็นจะต้องปรับปรุงทักษะอยู่เสมอ ผ่านการฝึกฝนและการหาความรู้เพิ่มเติม

อ้างอิง จาก Nikkei , thediplomat

Sign in to read unlimited free articles

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำยังไง ถ้าไม่ได้เป็น ‘ลูกรัก’ เจ้านาย

‘ระบบลูกรัก’ ที่ฝังรากลึกในองค์กร เป็นอีกหนึ่งปัญหาช้างในห้อง (Elephant In The Room) ปัญหาใหญ่ที่คนส่วนใหญ่รับรู้ แต่ไม่มีใครอยากพูดถึง หรือพูดไม่ได้ ทำยังไงดี...

Responsive image

รู้จักประโยชน์ Reverse Mentoring ที่ให้คนรุ่นใหม่มาสอนผู้ใหญ่ในองค์กร

เมื่อนึกถึงการทำงานในองค์กรแล้วส่วนใหญ่คนที่อายุมากกว่าหรืออาวุโสจะต้องให้คำแนะนำรุ่นน้อง แล้วถ้ากลับกันลองให้รุ่นน้องเป็นคนแนะนำผู้ใหญ่บ้างจะเป็นอย่างไร?...

Responsive image

พนักงาน 47% ไม่คิดอยากเลื่อนขั้น เพราะต้องทำงานหนักกว่าเดิม

จากสำรวจล่าสุดพบว่ามนุษย์เงินเดือนไม่ต้องการเลื่อนขั้น เพราะต้องการความสุขและพึงพอใจในบทบาทปัจจุบัน มากกว่าต้องก้าวหน้าไปรับผิดชอบงานที่มากขึ้น...